close

2 ก.ย. 2567

“โลกร้อน ลูกลด” วาทกรรมชวนคิดเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระทบต่อการตั้งครรภ์

ESG Circular Economy Sustainability

เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าวิกฤตระดับนานาชาติดังกล่าวส่งผลในทางลบกับสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเกิดคลื่นความร้อนรุนแรงทั่วโลก ไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ปะการังฟอกขาว และสัตว์ทะเลจำนวนมากถูกพัดมาเกยตื้นตายบนชายหาด แต่ประเด็นภาวะโลกร้อนนี้ยังขยายความท้าทายไปยังระบบสาธารณสุขอีกด้วย

สภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกมุมโลก ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพของสตรีมีครรภ์และทารกแรกเกิด โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มสตรีผิวสีและชนกลุ่มน้อย ในขณะที่มาตรการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่เพียงพอและต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน

หนึ่งในงานวิจัยหกชิ้นที่ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอุณภูมิที่สูงขึ้นและการคลอดก่อนกำหนด ได้ศึกษาหญิงตั้งครรภ์จำนวนเกือบหนึ่งล้านคนในประเทศออสเตรเลียระหว่างปี 2005-2014 พบว่าพื้นที่ในนิวเซาต์เวลส์ที่ร้อนที่สุดร้อยละ 5 ทำให้มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นราวร้อยละ 16 ส่วนวิจัยอีกชิ้นที่วิเคราะห์การคลอดในรัฐเท็กซัส ปี 2007-2011 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวครอบคลุมฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของเท็กซัสด้วย ผลวิจัยพบว่าคุณแม่ที่เผชิญกับวันอากาศร้อนที่สุดร้อยละ 1 จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 15

แอนา โบเนล นักวิชาการแพทย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน (London School of Hygiene and Tropical Medicine: LSHTM) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของความเครียดจากความร้อนต่อสรีรวิทยาของเกษตรกรหญิงตั้งครรภ์จำนวน 92 คน ในแกมเบีย ประเทศในแอฟริกาตะวันตก ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเพียง 1 องศาเซลเซียส ทำให้ความเครียดของทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นถึง 17% ซึ่งวัดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นและการไหลเวียนเลือดไปยังรกที่ลดลง

แม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนของความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และภาวะโลกร้อน แต่มีความเป็นไปได้ว่าเมื่ออุณหภูมิในสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น มีแนวโน้มที่จะกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ส่งผลให้ปากมดลูกเปิด นอกจากนี้ ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มีความอ่อนไหวต่อความร้อนมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการขยายตัวของผิวหนัง ความร้อนที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่สร้างความไม่สบายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะตายคลอด (Stillbirth) ที่ทารกในครรภ์ที่เสียชีวิตในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ หรือคลอดแล้วไม่มีอาการแสดงของการมีชีวิต โรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังทางสาธารณะสุขที่สำคัญ เพราะกระทบต่ออัตราการเกิดซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์การลดลงของประชากร (Population Decline)

แม้ว่ายุงจะมีบทบาทสำคัญในสายใยอาหาร เพราะลูกน้ำทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์หลายชนิด และยุงตัวเต็มวัยเป็นอาหารของนก ค้างคาว และแมงมุม นอกจากนี้ ในระบบนิเวศยุงยังช่วยในการผสมเกสรในขณะที่กินน้ำหวาน และลูกน้ำยุงลายช่วยในการนำสารอาหารกลับมาใช้ใหม่โดยการทำลายสารอินทรีย์ในน้ำ อย่างไรก็ตาม พวกมันถือเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพ เพราะเป็นพาหะนำโรคร้ายหลายชนิด และในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรของยุงเพิ่มมากขึ้นและเกินจำนวนปกติ เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

ในปี 2020 มีการตั้งครรภ์ประมาณ 122 ล้านครั้ง โดยประมาณครึ่งหนึ่งของการตั้งครรภ์ทั่วโลกในปีนั้น เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย และงานวิจัยในปีถัดมาประมาณการว่า 16 ล้านครั้งของการตั้งครรภ์เหล่านั้นสิ้นสุดลงด้วยการแท้งบุตร และ 1.4 ล้านครั้งสิ้นสุดลงด้วยการคลอดทารกเสียชีวิตในครรภ์

ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ มลพิษในมหาสมุทรแผ่วงกว้างและรุนแรงขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดอันตรายกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมลพิษในมหาสมุทร ประกอบไปด้วย โลหะที่เป็นพิษ ของเสียจากเมืองและอุตสาหกรรม ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย สารที่ใช้ในวงการยา น้ำทิ้งจากการทำเกษตร และสิ่งปฏิกูล โดยมลพิษในมหาสมุทรจะเข้มข้นที่สุดในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งและกระจุกตัวมากที่สุดตามแนวชายฝั่งของประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

เรื่องราวของ Khadiza Akhter หญิงชาวเมืองชานกรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของผู้ที่ได้รับผลจากภาวะโลกร้อนในขณะกำลังตั้งครรภ์ เพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้แหล่งน้ำจืดสำหรับอุปโภคและบริโภคขาดแคลน งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า การบริโภคน้ำเค็มอย่างยาวนานมีผลกระทบกับทุกขั้นตอนของวัฏจักรการสืบพันธุ์ในผู้หญิง ตั้งแต่การมีประจำเดือนไปจนถึงการคลอดบุตร นอกจากนี้ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเป็นหนึ่งกลไกที่ส่งผลให้พายุเฮอริเคนและไต้ฝุ่นมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก ระดับน้ำทะเลมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพายุ และปริมาณน้ำในพายุ เมื่อพายุทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพการทำลายสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินได้มากขึ้น

SCGC ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์แบบครบวงจรของไทยและในอาเซียนที่มีฐานการผลิตครอบคลุมทั้งในเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย หนึ่งในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มุ่งมั่นและผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ช่วยลดโลกร้อนและตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อม

เพื่อตอกย้ำการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนเชิงประจักษ์ SCGC ได้ร่วมกับ Avantium N.V. ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเคมีทดแทน (Renewable Chemistry) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยทดสอบนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาอัปไซเคิลเป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตพอลิเมอร์ PLGA หรือ พอลิเมอร์ที่คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบ (Carbon-negative Plastic) โดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกระบวนการผลิต พร้อมเร่งเตรียมพัฒนาโรงงานนำร่องด้วยกำลังการผลิตกว่า 10 ตันต่อปี

นอกจากนี้ เรายังเร่งเครื่องพัฒนา Green Innovation อย่างนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ SCGC GREEN POLYMERTM โซลูชันนวัตกรรมพลาสติกที่ตอบโจทย์การใช้งานและส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ Reduce การลดการใช้ทรัพยากร, Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้, Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่และ Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เรายังได้ร่วมทุนกับ Denka พันธมิตรจากญี่ปุ่น ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดสำหรับโลกยานยนต์ยุคใหม่ ตั้งโรงงานผลิตและจัดจำหน่าย อะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ที่เป็นส่วนประกอบนำไฟฟ้าในห่วงโซ่ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โครงการนี้จัดตั้งขึ้นในจังหวัดระยอง ประเทศไทย มีกำลังการผลิตประมาณ 11,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ภายในต้นปี 2025 โดยกระแสพลังงานทดแทนเป็นหนึ่งหนทางที่น่าสนใจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแทนรถยนต์สันดาป เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

SCGC ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change และเราให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมมุ่งมั่นในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)


Is this article useful ?