close

No Image

ธุรกิจเคมีภัณฑ์

เพื่อความยั่งยืน

เอสซีจีซี ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจร
เพื่อความยั่งยืนและตอบโจทย์เมกะเทรนด์

จากสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ การระบาดของโควิด 19 ความกังวลต่อปัญหาภาวะโลกร้อนและขยะพลาสติกยังผลักดันให้หลายประเทศกำหนดนโยบายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมาตรการด้านการจัดการขยะพลาสติกที่ชัดเจนมากขึ้น SCGC ได้เร่งปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ และการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ เพื่อให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของ เทรนด์ธุรกิจ เทรนด์ความยั่งยืน เทรนด์สิ่งแวดล้อม และ เมกะเทรนด์ ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน ทั้งในระยะสั้นเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และในระยะยาวที่มุ่งสร้างนวัตกรรมสินค้ามูลค่าเพิ่มและโซลูชันที่ตอบโจทย์วิถีปกติใหม่และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์สำคัญทั้ง 5

ก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านเคมีภัณฑ์ครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน
มุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าไวนิลครบวงจร
มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในระดับสากล
เร่งขับเคลื่อนสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมหลัก
เดินหน้าสู่การเป็นผู้นำด้านการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

SCGC สร้างศักยภาพสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียน มุ่งขยายการลงทุนทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศมีปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกหรือพอลิเมอร์ รวมถึงนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การก่อสร้างโครงการปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรก Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ SCGC ถือหุ้น 99.99% มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2566


สำหรับในประเทศอินโดนีเซีย เอสซีจีซี ถือหุ้น 30.57% ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) โดยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองของ CAP ซึ่งเป็นโรงงานปิโตรเคมีครบวงจรแห่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบัน CAP มีสินทรัพย์รวมประมาณ 4,590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

SCGC ขยายและยกระดับการบูรณาการในธุรกิจไวนิล เพื่อเร่งเสริมความแข็งแกร่งของการเป็นผู้นำการผลิตไวนิลในภูมิภาคอาเซียน และตอบสนองความต้องการของตลาด ที่เติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตอบโจทย์ เมกะเทรนด์ พร้อมเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) และความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน

SCGC มุ่งสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านเคมีภัณฑ์ และการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตเม็ดพลาสติก (Polymer) ที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืนมากขึ้น และมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ภายในปี 2573 (จากปี 2564) โดยในปีเดียวกัน จะเพิ่มปริมาณการขายพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ เป็นจำนวน 1 ล้านตันต่อปี เพื่อตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 4 ด้านสำคัญ ได้แก่

Reduce การลดใช้ทรัพยากร

Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้

Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่

Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

SCGC เร่งเดินหน้าเพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products and Services) ที่มีความแตกต่างและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้ เพื่อเพิ่มผลกำไรและสร้างโอกาสการเติบโตให้มีมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอบโจทย์เมกะเทรนด์ โดยเน้นไปที่กลุ่ม 5 อุตสาหกรรมหลักที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ การแพทย์และสุขภาพ ยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน และโซลูชันด้านพลังงาน โดยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กร รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรด้านการวิจัยพัฒนาภายนอก ทั้งสถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ทั่วโลก

SCGC ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แมชชีนเลิร์นนิง (Machine Learning) มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสอดคล้องกับ เทรนด์ธุรกิจ เทรนด์ความยั่งยืน เทรนด์สิ่งแวดล้อม และเมกะเทรนด์

เติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่การเป็น

ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจร

เพื่อความยั่งยืนและตอบเมกะเทรนด์


เพื่อตอบรับความต้องการของตลาดอาเซียน และตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น SCGC จึงขยายฐานการผลิตจากประเทศไทยสู่ภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกนั้น ไม่เพียงตอบโจทย์การใช้งานและอำนวยความสะดวกให้กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ไม่สิ้นสุด


เราจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA (High Value Added Products and Services) ที่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ โดยมุ่งเน้นใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูง ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ การแพทย์และสุขภาพ ยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน และโซลูชันด้านพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับ Mega Trends ของโลก

การขยายและพัฒนาสังคมไปสู่ความเป็นเมือง (Urbanization)

SCGC คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และโซลูชันส์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ เพื่อตอบสนองการขยายตัวของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ภาคการผลิต และภาคการบริการ

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society)

การเพิ่มขึ้นของประชากรในกลุ่ม Middle-class และประชากรผู้สูงอายุ ส่งผลให้ความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและสุขอนามัยเพิ่มสูงขึ้น SCGC จึงคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และโซลูชันส์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การการป้องกันเชิงรุก

การให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพ (Health and wellbeing)

เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคตของทุกคนในสังคม และส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ SCGC จึงได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์และสุขภาพ

ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่จำกัด (Resource scarcity)

จากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกินสมดุล ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง SCGC ให้ความสำคัญกับการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และโซลูชันส์ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับ 17 SDGs และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศปัจจุบัน (Climate change)

นอกเหนือความมุ่งมั่นที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี 2030 SCGC ยังคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และโซลูชันส์ รวมถึง นวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านเคมีภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับ 17 SDGs เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานสะอาด (Clean energy) หรือพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)