close

No Image

สรุปผล
การดำเนินงานสำคัญ

นวัตกรรมเคมีภัณฑ์ ที่ดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน

ภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือ 17SDGs ขององค์การสหประชาชาติ SCGC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีบรรษัทภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่รอบโรงงาน เราดูแลและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ และพยายามหาทางออกร่วมกัน ร่วมขับเคลื่อน ลงมือสร้างสรรค์ ขยายผลโครงการดี ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวิถีชุมชนยั่งยืนครอบคลุมหลายมิติ

Low Waste, Low Carbon
หมุนเวียนใช้ทรัพยากร สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

การขยายผลโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เพื่อบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรในจังหวัดระยองครอบคลุม 65 ชุมชน 10 วัด 11 โรงเรียน 2 โรงพยาบาล 1 โรงแรม และ 3 กลุ่ม ประมง ซึ่งใช้แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” (KoomKah) ที่ SCGC พัฒนาขึ้นมาช่วยชุมชนบริหารจัดการธนาคารขยะ  โดยปัจจุบัน

มี ธนาคารขยะ 13 แห่ง
มี สมาชิกธนาคารขยะทั้งหมด 3,785 บัญชี
มี ยอดสะสมขยะรีไซเคิลที่เข้าสู่ระบบกว่า 240 ตัน
ช่วยลดปริมาณการฝังกลบขยะและเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กว่า 480,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์

SCGC ได้ขยายผลโครงการดังกล่าว สู่นักเรียนในโรงเรียนด้วย
โครงการ “ถุงนมกู้โลก” เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กรุ่นใหม่ให้ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยรวบรวมถุงนมโรงเรียน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้


ปัจจุบันมีโรงเรียนสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 1,850 โรงเรียน
และเก็บถุงนมได้จำนวน 1,600,000 ถุง
น้ำหนักรวม 6,400 กิโลกรัม (6.2 ตัน) กลับมารีไซเคิล

นอกจากนี้ SCGC ส่งเสริมการลดโลกร้อนด้วยการปลูกต้นไม้ผ่าน
โครงการ “ปลููก เพาะ รัก” ช่วยเพิ่มพื้้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดระยอง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เยาวชน ชุมชนในพื้นที่ และจิตอาสากว่า 9,000 คน ตั้งแต่ปี 2561 ในการปลูกป่าชายเลน ป่าบก เพาะต้นกล้า และดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 368,729 ต้น



ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว
3,573 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วม โครงการป่าชายเลน เพื่อใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)  ซึ่งได้รับการจัดสรรพื้นที่ปลูกป่าชายเลนให้กับ SCGC จำนวน 1,100 ไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดระยอง จำนวน 437.18 ไร่ ปลูกใหม่ในพื้นที่ที่เคยถูกบุกรุกเพื่อทำนากุ้ง, จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 563.38 ไร่ ปลูกเสริมในพื้นที่แนวยาวตามชายฝั่ง และ จังหวัดชลบุรี จำนวน 100 ไร่ ปลูกเสริมในพื้นที่ที่ติดกับชุมชน

โดย SCGC ได้ขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แบบมาตรฐานขั้นสูง เรียกว่า Premium T-VER ไปยังองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ซึ่งมีเกณฑ์ในการดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้นและเป็นมาตรฐานสากล ที่มีกระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน รวมถึง ต้องประเมินและป้องกันผลกระทบด้านลบ (Safeguards) ตามกฎหมาย/ข้อบังคับเพื่อไม่ให้โครงการเกิดผลกระทบด้านลบ (Do-no-net-harm) แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

โดยเริ่มต้นปลูกตั้งแต่เดือนพ.ค. และจะปลูกให้เสร็จภายในปี 2023 โดยมีแผนบำรุงรักษา 2 ปี ซึ่งจะต้องมีอัตราการรอดตายต้องไม่น้อยกว่า 80% คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 6,500 ตันคาร์บอนฯต่อปี จากต้นไม้กว่า 550,000 ต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่หลากหลายและเหมาะสม สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี  รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้สมบูรณ์ด้วยพรรณไม้และกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในวัฏจักรคาร์บอน (carbon cycle) ของระบบนิเวศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน กลายเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ที่จะสร้างสังคมคาร์บอนต่ำให้กับประเทศไทย และส่งเสริมให้ชุมชนเกิดรายได้ตามมาอีกด้วย (* อ้างอิงข้อมูลเดือน ต.ค.2566 และ วิธีคิดอัตราดูดซับคาร์บอนฯ อ้างอิงจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก/TGO)

Biodiversity
ดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ วางรากฐานชุมชนยั่งยืน

จากวัสดุท่อ PE100 ซึ่งเหลือจากกระบวนการทดสอบ SCGC ได้นำมาพัฒนาเป็นบ้านปลา คือ แหล่งที่อยู่อาศัย ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทางทะเลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องและประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ให้ความสำคัญกับการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราได้ดำเนินโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง 10 ปี เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตวน์น้ำให้เป็นแหล่งรายได้ของกลุ่มประมงพื้นบ้านในจังหวัดระยอง และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลด้วย

ในปี 2565 SCGC ได้ปรับปรุงการประกอบบ้านปลาให้แข็งแรงและสะดวกขึ้น ลดเวลาการประกอบให้เหลือเพียง 1.5 ชั่วโมง จาก 3 ชั่วโมง และปรับเปลี่ยนการจัดวางเป็นรูปแบบกลุ่ม 10 หลัง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดวาง เพิ่มประสิทธิภาพการวางบ้านปลาตามตำแหน่งอย่างแม่นยำ

โดยโครงการบ้านปลานี้ (จากการสำรวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มประมงพื้นบ้าน จ.ระยอง 10 กลุ่ม ในปี 2565)

  • ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เพิ่มรายได้ 9 ล้านบาทต่อปี

และส่งเสริมรายได้รัฐวิสาหกิจชุมชนจากกิจกรรมการประกอบบ้านปลาราว 4 แสนบาทต่อปี 

SCGC ร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่เขายายดาในจังหวัดระยอง ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมบนเขายายดามาตั้งแต่ปี 2550 โดย

การสร้างฝายชะลอน้ำกว่า 7,600 ฝาย และ
ปลูกป่าจนคืนความอุดมสมบูรณ์ สามารถกักเก็บน้ำให้ชุมชนใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภค และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิต

ทางการเกษตร เราดำเนินโครงการต่อยอดโดยสร้างระบบจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ คือ สร้างคน สร้างกติกา เก็บน้ำ และเก็บข้อมูล โดยความร่วมมือกับชุมชน ภาครัฐ และนักวิชาการด้านน้ำ สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรคิดเป็นผลผลิตรวมกว่า 79 ล้านกิโลกรัมต่อปี และยังต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและบ้านพักโฮมสเตย์ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น 300,000 บาทต่อปี (*จากการเก็บข้อมูลในปี 2565) 

SCGC ได้รับโล่เกียรติคุณจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) หรือBEDO (Biodiversity-Based Economy Development Office : BEDO) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการนำแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนในการบริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) ซึ่งเป็นหนึ่งในการประเมินคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้ประยุกต์ใช้กับโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เขายายดา จ.ระยอง เพื่อให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยเราได้ร่วมกับ BEDO นำหลักการ PES เข้ามาใช้เพื่อให้ชุมชนเห็นคุณค่าของนิเวศบริการ หรือประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากระบบนิเวศ  ผลปรากฏว่าก่อนทำโครงการ ในปี พ.ศ. 2547 และหลังการจัดทำโครงการ ในปี พ.ศ. 2554  PES มีค่าเพิ่มขึ้น 6,870.23 บาท/ ไร่ /ปี หรือคิดเป็นมูลค่ารวมของเขายายดากว่า 198.80 ล้านบาท/ ปี

Human Development
พัฒนาทักษะอาชีพ สร้างชุมชนรายได้มั่นคง

SCGC ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่าย วิสาหกิจชุมชน 12 แห่งในจังหวัดระยอง สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทาง BCG (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนพร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โดย ส่งเสริมทักษะชุมชนผ่านการอบรมให้ความรู้จาก ผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและสถาบันการศึกษา ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม ไปจนถึง การตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพผู้เลี้ยงชันโรงบ้านทับมา วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าชุมชนมาบชลูด วิสาหกิจชุมชนทอผ้าแสนใยคนแสนวิถี ฯลฯ 

SCGC ช่วยส่งเสริมช่องทางจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น การเปิดเฟซบุ๊กกลุ่ม “ระยองชอปฮิ ตลาดนัดออนไลน์รวมของดีท้องถิ่นระยอง” มีสมาชิก 17,000 คน และจัดอบรมเพิ่มศักยภาพ โดยมีผู้ผ่านการอบรม 1,000 คนต่อปี สร้างรายได้ให้วิสาหกิจชุมชนและร้านค้ารายย่อยในชุมชน 10 ล้านบาทต่อปี 

" SCGC มุ่งพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ESG และ 17SDGs ด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ผ่านการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จัดการของเสียอย่างเป็นระบบตามหลักเศรฐกิจหมุนเวียน มุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชน โดยเราได้นำทั้งนวัตกรรม ความรู้ความเชี่ยวชาญ ผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน "