close

No Image

สิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

SCGC ตระหนักว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อทุกภาคส่วน ซึ่งอาจมีความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นจากการเติบโตของสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงอาจมีความเสี่ยงจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลถึงปริมาณและคุณภาพน้ำ ด้วยเหตุนี้ SCGC ได้จัดให้มีการดำเนินการบริหารจัดการน้ำภายในองค์กรผ่านคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (Corporate Environment) พร้อมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยเราได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมตอบสนองต่อภัยแล้ง ประกอบด้วยการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตลอดจนผลักดันโครงการการบริหารจัดการน้ำให้มีเพียงพอกับทุกภาคส่วน

กลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

SCGC ได้บูรณาการเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ (AQUEDUCT ของ WRI) ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และกลุ่มอุตสาหกรรมในการกำหนดแผน และการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำภายในกระบวนการผลิต โดยมีกลยุทธ์ ดังนี้

ลดความเสี่ยงด้านน้ำ ด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
ลดการใช้น้ำด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้น้ำในกระบวนการผลิตและสินค้า
บำบัดน้ำทิ้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน กำหนด ติดตามปริมาณและคุณภาพ รายงานอุบัติการณ์ สอบสวนสาเหตุ แก้ไข และกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยน้ำทิ้ง ออกสู่ภายนอกให้มากที่สุด
นำน้ำเสียผ่านการบำบัดกลับมาใช้งาน
ฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ
และสนับสนุนน้ำให้ชุมชนและเกษตรกรรม
พัฒนาความสามารถของบุคลากร
ที่ปฏิบัติงานด้านน้ำ

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 โดยเตรียมแผนระยะยาวสำหรับอนาคต เช่น การจัดสร้างแหล่งน้ำ เพิ่มเติม การผันน้ำจากแหล่งน้ำ ฯลฯ และ พัฒนาเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามสถานการณ์น้ำ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวลุ่มน้ำวังโตนด โดยสนับสนุนโครงการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่เทศบาลตำบลหนองคล้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) เพื่อบำบัดน้ำเสียจากชุมชน 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวันก่อนปล่อยสู่คลองวังโตนดซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) ให้ภาคตะวันออก

ความมุ่นมั่นต่อการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง
นำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพดังนี้

ประสิทธิภาพ25572558255925602561256225632564
ปริมาณการใช้น้ำจากแหล่งน้ำภายนอก
(ลูกบาศก์เมตร/ตันการผลิต)
4.084.114.133.873.483.363.303.27