close

No Image

สิ่งแวดล้อม

SCGC กับการรับมือ
กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศ SCGC มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Footprint Product) เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าในเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ไปจนถึงลูกค้าและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

กลยุทธ์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกทางตรง
การลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
การพัฒนาแหล่งเก็บกัก
ก๊าซเรือนกระจก
SCGC กับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปลดปลดก๊าซเรือนกระจกของ SCGC ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้ดำเนินการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียน และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ (Natural Climate Solutions : NCS) ซึ่งได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันการผลิตลงประมาณ 5.6% เมื่อเทียบกับปี 2557 แม้จะมีกําลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านตันต่อปี โดยได้กําหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนและได้ดําเนินการขั้นตอนสําคัญในความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยลง 20% ภายในปี 2573 (เทียบกับปีฐาน 2564) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

* Production is defined as a sum of production from all companies including all intermediate products (i.e VCM, EDC, etc.)
** SCGC has major turnaround of main cracker in 2016 and 2020

Carbon intensity reduction trend compared with 2014

ประสิทธิภาพ20142015201620172018201920202021
GHG Intensity
(ton CO2 / ton production)
0.510.480.480.490.480.490.480.48
Reduction compared with 2014 (%)0.0%-5.5%-4%-4%-5.7%-3.7%-6.0%-5.6%

ตัวอย่างของโครงการริเริ่มที่ได้ดําเนินการ:

การปลดปลดก๊าซเรือนกระจกของ SCGC ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้ดำเนินการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานหมุนเวียน และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ (Natural Climate Solutions : NCS) ซึ่งได้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันการผลิตลงประมาณ 5.6% เมื่อเทียบกับปี 2557 แม้จะมีกําลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านตันต่อปี โดยได้กําหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนและได้ดําเนินการขั้นตอนสําคัญในความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนต่างๆ โดยมีเป้าหมายคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยลง 20% ภายในปี 2573 (เทียบกับปีฐาน 2564) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

  • ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: เรามุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต
  • การใช้พลังงานหมุนเวียนและ/หรือไฮโดรเจนเพื่อลดคาร์บอนในการใช้พลังงานในกะบวนการผลิต
  • การใช้ไฟฟ้า 'ปลอดถ่านหิน' และการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน (ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มพลังงานแสงอาทิตย์ 5.7 เมกะวัตต์สูงสุดและมีแผนที่จะดำเนินการติดตั้งเพิ่มอีก 15 เมกะวัตต์สูงสุด คิดเป็น 60% ของพลังงานไฟฟ้าภายในปี 2030)
  • การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานร่วมกันอย่างมีปะรสิทธิภาพของโรงงานที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับ โครงการ LSP และโครงการ LSP 2 ในอนาคต ; และ
  • โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ: เช่น การฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน, ฝายชะลอน้ำ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพิ่มเติมทั้งภายในและภายนอกโรงงาน.

นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ "break-through" ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนา เพื่อสนับสนุนตามแผนการการลดคาร์บอน:

  • การใช้ไฮโดรเจน "เทอร์ควอยซ์" ที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ เพื่อทดแทนแทนไฮโดรเจนสีเทา เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การใช้พลังงานหมุนเวียนและ/หรือไฮโดรเจนเพื่อลดคาร์บอนในการใช้พลังงาน
  • การเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อยมลพิษ และ
  • การดักจับคาร์บอนเพื่อจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
  • จัดทำระบบเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการจัดการของเสีย และใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการใช้พลังงาน ลดของเสีย และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่
  • การเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็น low carbon รวมทั้ง renewable มากขึ้น เช่น Circular Plas (advance recycling) ได้ naphtha ที่คาร์บอนต่ำในการผลิตโอเลฟิน หรือ PCR (mechanical recycle) ในการผลิตโพลีเมอร์ รวมถึงการวางแผนเพื่อจัดทำแนวทางในการจัดหาวัตถุดิบจาก Supplier โดยให้มีการพิจารณาเรื่องการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบและบริการ รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้องในการจัดหาด้วย
  • ผลักดันและสนับสนุน ให้ Logistic Supplier ทำการเปลี่ยนเชื้อเพลิงรถขนบรรทุกขนส่งจากน้ำมัน Diesel เป็น Natural Gas เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และฝุ่น นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของ Supplier

* Under verification on CFO process by TGO
** Not reliable data/Not significant to data collection, in accordance with TGO CFO

การปลูกป่า การฟื้นฟูธรรมชาติ



การพัฒนานวัตกรรมในการเก็บกักก๊าซเรือนกระจก

01 . โซลูชันระบบพลังงานแสงอาทิตย์

SCGC พัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์และนำมาติดตั้งใช้งานอย่างต่อเนื่อง ทั้งโซลาร์ฟาร์ม โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ และโซลาร์รูฟทอป เพื่อเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกระบวนการผลิตและอาคารสำนักงาน นอกจากนี้ได้ดำเนินธุรกิจด้านโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ให้บริการแก่บริษัทในเครือเอสซีจี หน่วยงานภายนอก และลูกค้า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่พลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานที่สำคัญในปี 2564 เช่น

Floating Solar Solution

นวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำที่ให้บริการแบบโซลูชันครบวงจรเป็นรายแรกของประเทศไทย ตั้งแต่การออกแบบ ผลิต ทุ่นลอยน้ำ ตั้งแต่ปี 2561-2564 ได้ดำเนินการติดตั้งให้แก่บริษัทในเอสซีจีและลูกค้าภายนอก รวมมากกว่า 43 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 50 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 35,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

Solar Rooftop

ปี 2564 จัดทำโครงการขยายผลการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานและโรงงานของบริษัทในธุรกิจของ SCGC ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด รวมกำลังการผลิตสูงสุด 3,200 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นพลังงานภายในอาคารแทนการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก รวมการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปบนอาคารแล้วทั้งสิ้น 2.2 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 1,500 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

Solar Farm

ปี 2562 - 2564 ติดตั้งโซลาร์ฟาร์มตามแนวท่อขนส่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ขนาด 2.6 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

โครงการรถยนต์ไฟฟ้าบูรณาการร่วมกับการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

นำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแทนรถยนต์เชื้อเพลิงดีเซลในบริษัทอาร์ไอแอล 1996 จำกัด และมีแผนจัดสร้างระบบสถานีบริการพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอลและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้กว่า 7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคันต่อปี

02. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วย AI และระบบอัตโนมัติ

SCGC ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานมาโดยตลอด ล่าสุดได้นำเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI Machine Learning Data Analytics ระบบอัตโนมัติ เข้ามาควบคุมการทำงาน ช่วยลดการใช้พลังงานลงอย่างมีนัยสำคัญ

  • บริษัทระยองโอเลฟินส์ จำกัด
    ปรับปรุงการตรวจวัดและตั้งค่าควบคุมระบบไอน้ำซึ่งมีความซับซ้อนสูงจากการใช้พนักงานมาเป็นระบบดิจิทัลอัตโนมัติ และปรับปรุงการทำงานของเตาปฏิกิริยาความร้อน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโรงงาน ด้วยระบบอัตโนมัติและ Machine learning ช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 8,030 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
เทียบเท่าต่อปี
  • บริษัทมาบตาพุดส์โอเลฟินส์ จำกัด
    
ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI บริหารจัดการพลังงานในหน่วยการผลิต ช่วยลดการใช้พลังงานได้กว่า 19,430 กิกะจูลต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 806 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และช่วยให้ควบคุมกระบวนการผลิตได้ง่ายและ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น
03. การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO)

ปี 2564 ธุรกิจของ SCGC ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จำนวน 4 บริษัท แสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศ SCGC มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Footprint Product) เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าในเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงลูกค้าและผู้บริโภค รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593

ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ

SCGC เล็งเห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในภูมิภาคที่มี operation
ซึ่งนำกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนตามกระบวนการของ TCFD focus on Risk & Opportunity ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับธุรกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์รับมือก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น




ความเสี่ยงเชิงกายภาพ

          คณะทำงานด้าน Climaคณะทำงานด้าน Climate Change & Hazard Risk นำผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมาสร้าง Scenario เพื่อประเมินความเสี่ยงตามกระบวนการ โดยนำค่าคาดการณ์ Global Emission prediction figure on GHG concentration in atmosphere “Representative Concentration Pathway”(RCP) มาประเมินผลกระทบระยะไกล ซึ่งมีประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น Water Stress, Sea Level, Flooding, Storm, เป็นต้น


ใช้ RCP
Base scenario4.5
Reduction compared with 2014 (%)8.5

หลังจากนั้นได้นำ Hot Sport ต่างๆใน Business Value Chain มาพิจารณาร่วมกับแผนงานเชิงนโยบายของภาครัฐ และ แผนงานภายใน ซึ่งหากกระบวนการใดใน Operation มีความเสี่ยงเกิดค่าความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จะต้องมีมาตรการรับมือเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงนั้นๆ อาทิ ตัวอย่างกรณี Sea Level Raising ในปี ค.ศ.2100 หากอุณหภูมิสูงขึ้น 2-degree Celsius Sea Level ทำให้ระดับน้ำอาจสูงขึ้น 1.5-2.0 m.เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง mean sea level และระดับน้ำขึ้นลง ซึ่งจากการประเมินระดับความสูง Elevation ตลอดทั้ง Supply Chain ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงลูกค้า พบว่าไม่มีผลกระทบการน้ำทะเลสูงขึ้น มีเพียงอาจส่งผลให้เกินระดับที่ Jetty Operation จะปฏิบัติงานได้ทำให้ต้องมีการวางแผนระยะกลาง-ยาวเพื่อปรับปรุง Jetty Facility ในอนาคต


ประเด็นความเสี่ยงด้าน Physical Risk มีคณะกรรมการ Energy & Climate Change Committee เป็น Risk Owner ในการกำกับดูแล และรายงานตามโครงสร้าง SD Dimension ให้ผู้บริหารรับทราบในประเด็นความเสี่ยงและให้คำแนะนำเพื่อป้องกันและแก้ไขตามแนวทางขององค์กร


นอกนี้จากยังประสานกับหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมชลประทาน และสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจใน facility และกระบวนการใน Trigger ให้กับ Stakeholders ในพื้นที่

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          SCGC ได้นำกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสภาพอากาศ (climate scenario analysis) ตามแนวทาง Recommendation of the Task Force on Climate-related Financial Disclosure (TCFD) เข้ามาใช้ในการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) โดยพิจารณาใน 2 สถานการณ์จำลองตาม World Energy Outlook (WEO) อันได้แก่ SDS (Sustainable Development Scenario) และ NZE (Net Zero by 2050 Scenario) ในมิติที่เกี่ยวข้อง รวมถึง

  • Policy and Legal: ด้วยการให้ความสำคัญกับเป้าหมายและนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (ร่าง) พระราชบัญญัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) และระบบซื้อขายสิทธิ์การปล่อยการเรือนกระจก (Emission Trading System)
  • Market: เป็นการประเมินถึงความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ ความต้องการของพลังงานทางเลือก และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM)
  • Technology: เป็นการประเมินถึงเทคโนโลยีเกี่ยวกับคาร์บอนต่ำที่มาทดแทนธุรกิจที่พึ่งพาฟอสซิลเป็นหลัก เช่น พลังงานสะอาด รถไฟฟ้า แบตเตอรี่ เป็นต้น
  • Reputation: เป็นการประเมินความต้องการและความคาดหวังของนักลงทุนเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านสู่การดำเนินธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ


ทั้งนี้ ผลของการประเมินนำไปสู่การกำหนดกลยุทย์ในการเตรียมความพร้อม การดำเนินธุรกิจ และการกำหนดมาตรการควบคุมบรรเทา (mitigation plan) ของบริษัทฯ