close

No Image

สังคม

SCGC กับการจัดการด้านความปลอดภัย

SCGC มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจเรื่องการถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการดำเนินธุรกิจในเรื่องต่าง ๆ จะคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และคำนึงถึงการทำงานบนพื้นฐานของความปลอดภัยสูงสุด พร้อมทั้งครอบคลุมการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านการฝึกอบรม ที่เริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัท การฝึกอบรมทบทวนตามกำหนดเวลา และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงที่กระทบกับการปฏบัติงาน นอกจากนี้เอสซีจี เคมิคอลส์ได้มีการนำระบบมาตรฐานการจัดการที่เป็นแนวทางตามมาตรฐานสากล เช่น ISO 45001, มอก/TIS 18001, Process Safety Management (PSM) ซี่งจะมีการตรวจประเมินภายใน (Internal Audit) ที่ต้องดำเนินการทุกปี และการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายนอกตามข้อกำหนดอย่างน้อย ทุก ๆ 3 ปี โดยในปัจจุบันกว่า 90 % ของบริษัทในเครือได้รับการรับรองระบบมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย

การจัดการความปลอดภัย ในกระบวนการผลิต
การจัดการความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
การจัดการความปลอดภัยสำหรับรถขนส่ง
ความปลอดภัยในการทำงานของคู่ธุรกิจ
การวางแผนและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน
การจัดการ
ด้านอาชีวอนามัย

SCGC ได้นำเอาระบบความปลอดภัยในกระบวนการผลิต Process Safety Management หรือ PSM ซึ่งถือเป็นระบบชั้นนำระดับโลก มาปรับใช้ในการบริหารจัดการความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้นภายใต้การให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ได้เริ่มใช้กับบริษัทภายในประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 และได้ขยายผลไปยังธุรกิจในต่างประเทศในปี 2562 เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “Zero Accident” หรือ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ซึ่งทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและไม่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติในกระบวนการผลิต ทำให้ชุมชนโดยรอบเกิดความมั่นใจในระบบการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยของโรงงานได้

SCGC ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการด้วยการจัดทำเป็น หลักการด้านความปลอดภัย (Corporate Safety Principles) กฎพิทักษ์ชีวิต (Life Saving Rules) และกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับธุรกิจ (Corporate Safety Standard) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย เป็นมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร และการช่วยกันดูแลความปลอดภัยซึ่งกันและกันผ่านกิจกรรมการสังเกตุพฤติกรรมด้านความปลอดภัย (Safety Observation Program) ที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการช่วยดูแลกันให้เกิดความปลอดภัย โดยครอบคลุมทั้งพนักงานและคู่ธุรกิจ

สำหรับการบริหารการจัดการความปลอดภัยภายนอกบริษัทนั้น SCGC ได้กำหนดให้มีการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับรถขนส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท (Goods Transportation Safety Standard) และยานพาหนะที่ใช้ในกิจการของบริษัท (Motor Vehicle Safety Standard) เพื่อให้มั่นใจว่าการขนส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และการใช้ยานพาหนะเพื่อกิจการของบริษัทฯ จะไม่ส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความสูญเสียต่อบุคคลภายนอก โดยได้มีการติดตั้งกล้อง 2 ทางและระบบระบุตำแหน่ง (GPS) กับทั้งรถขนส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ และการใช้ยานพาหนะ โดยสัญญาณ GPS จะส่งข้อมูลเข้าไปยังศูนย์ควบคุมกลาง (Logistic Command Center) ซึ่งจะช่วยแจ้งเตือนพนักงานขับรถ ผู้ดูแลรถขนส่ง และยานพาหนะเพื่อกิจการของบริษัทฯ โดยอัตโนมัติเมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การจอดรถไหล่ทาง การใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ การใช้ความเร็วเกินกว่ากำหนด และการขับรถต่อเนื่องมากกว่า 4 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้น

SCGC ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงานของคู่ธุรกิจ และเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายการทำงานด้านความปลอดภัยที่ต้องปราศจากการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury and Illness Free Operation) โดยได้กำหนดมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ (Contractor Safety Management) เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการบริหาร จัดการด้านความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ ที่ครอบคลุมตั้งแต่การคัดเลือกคู่ธุรกิจ การฝึกอบรมที่ครอบคลุมในเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพและประเมินศักยภาพ การทำงานตามมาตรฐานอย่างปลอดภัย และการประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยมาตฐานด้านความปลอดภัยดังกล่าวมีการระบุในสัญญาการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการติดตามผลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการการจัดการความปลอดภัยคู่ธุรกิจ ระดับธุรกิจ (Corporate Contractor safety committee)

SCGC ได้กำหนดมาตรฐาน การวางแผนและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน ระดับธุรกิจเพื่อกำหนดแนวทาง และการบ่งชี้แนวปฏิบัติที่เหมาะสม สำหรับการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่ออุบัติเหตุ หรือ สถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยได้นำผลการประเมินความเสี่ยงกระบวนการผลิต ตลอดจนข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำแผนเผชิญเหตุ (Pre-incident plan) เพื่อให้เกิดการวางแผน การเตรียมพร้อม และการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


มาตรฐานการการวางแผนและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน ของ SCGC มีเป้าหมายที่จะปกป้องชีวิต และดำเนินการด้วยความปลอดภัย จากเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้มาตรฐานฯข้างต้นยังได้มีการเชื่อมโยงกับแผนบริหารจัดการในภาวะวิกฤต ตลอดจนแผนบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อให้บริษัท ยังสามารถที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง


SCGC ได้มีการเตรียมพร้อมในด้านทรัพยากรที่จำเป็นในการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของบริษัท และได้ดำเนินการควบคู่ไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบริษัทข้างเคียง ทั้งยังสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งในการตั้งกลุ่มสนับสนุนช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ และศักยภาพในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการสนับสนุนให้ชุมชน และโรงเรียนโดยรอบ จัดทำแผนฉุกเฉินของชุมชน รวมถึงสนับสนุนการฝึกซ้อมแผนฯ เพื่อให้ชุมชนและโรงเรียน เกิดความเข้าใจ มีความมั่นใจ และสามารถจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชน หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเสี่ยงด้านสุขภาพอาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิต และอาจสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยตรง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ใช้ระบบการบริหารจัดการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene Management System) หรือ IHMS โดยเริ่มต้นจากการจัดกลุ่มพนักงานที่มีการสัมผัสคล้ายกัน (Similar Exposure Group: SEG) ตามระดับการสัมผัส (Exposure Rating) ของพนักงานในแต่ละปัจจัยเสี่ยงจากการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพรายบุคคล (Individual Health Risk Assessment: HRA) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของระดับความเสี่ยง (Risk Level) อันเป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการควบคุมเพื่อลดระดับความเสี่ยง หรือควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้


ทั้งนี้ ระดับความเสี่ยงที่ได้จาก HRA ยังนำมาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณามาตรการควบคุมการได้รับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานโดยการเฝ้าระวังทางการแพทย์ (Medical Surveillance) อาทิ การตรวจสุขภาพประจำปี และการติดตามตรวจวัดการรับสัมผัสทางชีวภาพ (Biological Monitoring) อันจะนำมาซึ่งการควบคุมป้องกันมิให้พนักงานเกิดโรคจากการทำงาน และเฝ้าระวังสุขภาพได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพ (Health Care System) เพื่อใช้วิเคราะห์และเก็บข้อมูลผลการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและผลการตรวจร่างกาย SCGC เชื่อมั่นว่าระบบและสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพให้กับพนักงาน และคู่ธุรกิจลงได้อย่างยั่งยืน


ผลการดำเนินการตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการเจ็บป่วยและเป็นโรคจากการทำงาน เป็น 0