close

No Image

บรรษัทภิบาล
และเศรษฐกิจ

การสร้างคุณค่ายั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ

SCGC คัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) และมีระบบการเลือกใช้คู่ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพโดยจะประเมินและทบทวนประสิทธิภาพของคู่ธุรกิจอยู่เสมอ ทั้งคุณภาพของสินค้า บริการ และ ESG เพื่อพัฒนาและยกระดับคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยตั้งแต่ปี 2562 เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400 นับเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ในประเทศไทย

พัฒนาระบบบริหารจัดการคู่ธุรกิจ

SCGC มีการพัฒนายกระดับระบบบริหารจัดการคู่ธุรกิจ (VeNus) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ขาย เข้าสู่ระบบการขอราคาอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มโอกาสให้คู่ธุรกิจที่มีศักยภาพได้มีส่วนร่วมประกวดราคาอย่างเสมอภาค และเป็นระบบที่บันทึกข้อมูลผู้ขายในทุกมิติ ทั้งข้อมูลบริษัท, การจัดการใบเสนอราคา และผลงานผู้ขาย มุ่งสู่การบริหารจัดการคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสื่อสารข่าวสาร และรับคำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูข้อมูลเพิ่มเติม

การจัดการห่วงโซ่อุปทานความยั่งยืน

เอสซีจีซีมีความตั้งใจดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าอย่างมีธรรมาภิบาล ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสังคม ดังนั้น เอสซีจีซีจึงกำหนดนโยบาย และ แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องการกำกับดูแลคู่ค้า เพื่อเป็นแนวทางให้คู่ธุรกิจร่วมกันปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565

การกำหนดประเภทและความเสี่ยงคู่ค้า

คู่ธุรกิจลำดับที่ 1

คู่ธุรกิจผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ

และเจ้าหนี้ทางการค้าในรอบปี 2565

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญลำดับที่ 1

คู่ธุรกิจที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง, มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และไม่สามารถทดแทนได้ (Critical supplier)  หรือ คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน (High ESG risk supplier)

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญสำดับถัดไป

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ

และเป็นเจ้าหนี้ทางการค้ากับคู่ธุรกิจลำดับที่ 1

สัดส่วนมูลค่าการซื้อ

การตรวจประเมินความเสี่ยงคู่ธุรกิจ

* การตรวจประเมินความเสี่ยงเชิงรุก เป็นการตรวจประเมินความเสี่ยงโดยการทำ event audit (on-site/ online) ในกลุ่มคู่ธุรกิจสำคัญ (Critical supplier), คู่ธุรกิจความเสี่ยงสูงด้าน ESG (High ESG risk) หรือ คู่ธุรกิจในกลุ่มงานที่มีความรุนแรงสูง-ปานกลาง(High-Medium severity) ด้วยเกณฑ์การประเมิน ระบบการบริหารจัดการองค์กร, ความสามารถ, ศักยภาพการดำเนินงาน และการบริหารจัดการด้วย ESG

** การประเมินความเสี่ยงหลังการส่งมอบ เป็นประเมินศักยภาพคู่ธุรกิจลำดับที่1 ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ครอบคลุมด้าน ความสามารถการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการด้าน ESG

การบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ธุรกิจเพื่อลดผลกระทบ

การส่งเสริมคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืน

โครงการเด่นปี 2565

การเพิ่มสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว

ในป  ปี 2566 SCGC วางแผนผลักดันให้ผู้ใช้งานเลือกใช้สินค้าและบริการที่ได้ผ่านการตรวจประเมินด้านสิ่งแวกล้อม ในกลุ่มสินค้าพาเลต, บรรจุบรรภัณฑ์, สารเคมี, รถยก และงานบริการรับกำจัดของเสีย เพิ่มมากขิ้น

การศึกษาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน (GHG Emission Scope 3)

หลังจากได้สร้างความตระหนัก, สื่อสารเป้าหมายขององค์กรด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไปยังคู่ธุรกิจ รวมถึงให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการคำนวณ Emission factor ของผลิตภัณฑ์กับคู่ธุรกิจผ่านแบบสอบถาม ในปี 2566 SCGC ได้รับข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผลิตภัณฑ์จากคู่ธุรกิจ 60 ราย  และได้ดำเนินการซึ่งเข้าสู่กระบวนการตรวจทานข้อมูลเพื่อให้เอสซีจีซีสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง รวมถึงหาโครงการความร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป

การให้ความรู้และการสื่อสารกับคู่ธุรกิจ

ปี 2565 เอสซีจีซี ร่วมกับ เอสซีจี และเอสซีจีพี มีการจัดสัมนาเพื่อสื่อสารประเด็นด้านความยั่งยืนต่อการขับเคลื่อนดำเนินธุรกิจของเอสซีจีต่อคู่ธุรกิจ โดยมีประเด็นสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นด้านความยั่งยืนที่ซัพพลายเออร์จำเป็นต้องพิจารณาในการดำเนินธุรกิจของตน  

ระดับความพึงพอใจของคู่ธุรกิจ

เอสซีจีซีได้รับฟังทุกความคิดเห็นและข้อแนะนำจากคู่ธุรกิจ นำมาพัฒนากระบวนการในด้านปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับคู่ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ, มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันฝ่าฟันสถานการณ์วิกฤต และการพัฒนาคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน สะท้อนให้เห็นถึงระดับพึงพอใจคู่ธุรกิจที่มีต่อเอสซีจีซีในระดับดีมาก