close

การสร้างคุณค่ายั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ

SCGC คัดเลือกคู่ธุรกิจที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) และมีระบบการเลือกใช้คู่ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพโดยจะประเมินและทบทวนประสิทธิภาพของคู่ธุรกิจอยู่เสมอ ทั้งคุณภาพของสินค้า บริการ และ ESG เพื่อพัฒนาและยกระดับคู่ธุรกิจสู่ความยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยตั้งแต่ปี 2562 เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400 นับเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจเคมิคอลส์ในประเทศไทย

พัฒนาระบบบริหารจัดการคู่ธุรกิจ

SCGC มีการพัฒนายกระดับระบบบริหารจัดการคู่ธุรกิจ (VeNus) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ขาย เข้าสู่ระบบการขอราคาอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มโอกาสให้คู่ธุรกิจที่มีศักยภาพได้มีส่วนร่วมประกวดราคาอย่างเสมอภาค และเป็นระบบที่บันทึกข้อมูลผู้ขายในทุกมิติ ทั้งข้อมูลบริษัท, การจัดการใบเสนอราคา และผลงานผู้ขาย มุ่งสู่การบริหารจัดการคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสื่อสารข่าวสาร และรับคำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูข้อมูลเพิ่มเติม

ระบบบริหารคู่ธุรกิจ

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

SCGC มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบร่วมกับคู่ธุรกิจ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขัน ดังนั้น SCGC จึงได้กำหนดนโยบายและแนวทางการกำกับดูแล เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2567

การกำหนดประเภทและความเสี่ยงคู่ค้า (Supplier Screening)

คู่ธุรกิจลำดับที่ 1

คู่ธุรกิจผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ

และเจ้าหนี้ทางการค้าในรอบปี 2565

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญลำดับที่ 1

คู่ธุรกิจที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง, มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และไม่สามารถทดแทนได้ (Critical supplier)  หรือ คู่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน (High ESG risk supplier)

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญสำดับถัดไป

คู่ธุรกิจที่มีนัยสำคัญ ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ

และเป็นเจ้าหนี้ทางการค้ากับคู่ธุรกิจลำดับที่ 1

สัดส่วนมูลค่าการซื้อ (Ration of procurement spend)

การตรวจประเมินความเสี่ยงคู่ธุรกิจ

* การตรวจประเมินความเสี่ยงเชิงรุกเป็นการตรวจประเมินความเสี่ยงโดยการทำ event audit (on-site/ online) ในกลุ่มคู่ธุรกิจสำคัญ (Critical supplier), คู่ธุรกิจความเสี่ยงสูงด้าน ESG (High ESG risk) หรือ คู่ธุรกิจในกลุ่มงานที่มีความรุนแรงสูง-ปานกลาง(High-Medium severity) ด้วยเกณฑ์การประเมิน ระบบการบริหารจัดการองค์กร, ความสามารถ, ศักยภาพการดำเนินงาน และการบริหารจัดการด้วย ESG

** การประเมินความเสี่ยงหลังการส่งมอบเป็นประเมินศักยภาพคู่ธุรกิจลำดับที่1 ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ครอบคลุมด้าน ความสามารถการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการด้าน ESG

การจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบ

โครงการเด่นปี 2567

ให้คำแนะนำเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน (GHG emission scope 3)

ในปี 2567 เอสซีจีซี ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ที่ได้รับจากคู่ธุรกิจในปี พ.ศ. 2566 อีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่อัพเดตและมีความถูกต้องครบถ้วน ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มจากการสอบถามข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) สำหรับรายการสินค้า 11 รายการ ไปยังคู่ธุรกิจจำนวน  14ราย และนำค่าที่อัพเดตดังกล่าวพิจารณาร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบไปใช้ในการดำเนินงานของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อเป้าหมายด้านความยั่งยืน

ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ธุรกิจที่มีความสำคัญ

ในปี 2566 เอสซีจีซีได้สื่อสารเรื่องสิทธิมนุษยชนรอบด้านแก่คู่ธุรกิจ (Human Rights Due Diligence) เพื่อให้คู่ธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่เคารพสิทธิมนุษยชน ในทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้แน่ใจว่าทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่อุปทานจะไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเพิ่มการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้ารายใหม่ ให้สอดคล้องกับการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG)  

จากผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ธุรกิจที่มีความสำคัญจำนวน 193 ราย ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า คู่ธุรกิจทั้งหมดได้ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนขั้นต้น และมีผลด้านความเสี่ยงในระดับไม่มีผลกระทบ 153 ราย มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง 20 ราย และมีความเสี่ยงในระดับสูง 20 ราย ซึ่งจะต้องดำเนินการจัดทำแผนและติดตามให้มีผลประเมินในระดับไม่มีผลกระทบภายในปี 2568 ต่อไป

ระดับความพึงพอใจของคู่ธุรกิจ

เอสซีจีซีได้รับฟังทุกความคิดเห็นและข้อแนะนำจากคู่ธุรกิจ นำมาพัฒนากระบวนการในด้านปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับคู่ธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ, มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันฝ่าฟันสถานการณ์วิกฤต และการพัฒนาคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน สะท้อนให้เห็นถึงระดับพึงพอใจคู่ธุรกิจที่มีต่อเอสซีจีซีในระดับดีมาก