close

No Image

บรรษัทภิบาล
และเศรษฐกิจ

การบริหารจัดการความเสี่ยง

เพื่อสนับสนุนให้ SCGC สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดโดยสามารถบริหารจัดการกับความเสี่ยงด้าน ESG ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และทันเวลา บริษัทฯ ได้นำกรอบ การบริหารความเสี่ยงของเอสซีจี Enterprise Risk Management หรือ ERM มาใช้ในการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เราได้ใช้โครงสร้าง Sustainable Development Structure ในการกำกับดูแลและผ่านคณะกรรมการใน Economic, Environmental, Social และ Governance Dimension โดยติดตามกำกับดูแลและสนับสนุนแผนจัดการความเสี่ยงที่สำคัญระดับธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ ได้ แล้วรายงานสถานะความเสี่ยงทุก ๆ ไตรมาสให้คณะจัดการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ทราบและกำกับดูแล

นอกจากนั้น เพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ เชื่อมโยงกระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) เพื่อตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินและเหตุการณ์วิกฤต (Crisis) ด้วยแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ที่ได้จัดเตรียมไว้ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร (Stakeholders)

Post-Incident

การบริหารอุบัติการณ์และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เมื่อเกิดอุบัติการณ์

เอสซีจี เคมิคอลส์ฯ ได้จัดตั้งโครงสร้างการบริหารภาวะวิกฤตและกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤติเพื่อเชื่อมโยงกระบวนการบริหารจัดการภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการประสานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรในช่วงภาวะวิกฤติ

เตรียมความพร้อมที่จะรับมือต่อสถานการณ์ภาวะวิกฤติ

       บริษัทฯมีการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆดังนี้

กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้สถานการณ์ภาวะวิกฤติ ผู้บัญชาการ ผู้ประสานงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการภาวะวิกฤต
เตรียมพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในภาวะวิกฤติ เช่น Crisis Room Facility ข้อมูลจากกล้อง CCTV และ Database ข้อมูลสนับสนุน Crisis Management Team รวมทั้งความพร้อมของช่องทางการสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เชื่อมโยงข้อมูลหน้างานจากทีมเผชิญเหตุ Emergency Management ตามโครงสร้าง Incident Command System (ICS) ยัง คณะบริหารจัดการภาวะวิกฤติ (Crisis Management Team) เพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจ
สร้างความมั่นใจในกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจโดยการซ้อมแผนรับมือตามฉากทัศน์ต่างๆ

เอสซีจี เคมิคอลส์ กำหนดเกณฑ์การยกระดับ (Escalation Guideline) ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจด้าน ความปลอดภัย สุขภาพและสิ่งแวดล้อม รายได้ ภาพลักษณ์ชื่อเสียง และข้อกฎหมาย ไว้ในเอกสารของบริษัท (Crisis Management Guideline) เพื่อใช้ในการพิจารณายกระดับการบัญชาการของ Crisis Management Team ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินทางโรงงาน การบัญชาการจะเริ่มจากระดับบริษัทจะมี Local Management Team (LMT) บัญชาการ แล้วยกระดับถัดมา คือ ระดับธุรกิจ BU Management Team (BMT) เมื่อมีผลกระทบต่อธุรกิจมากขึ้น

การบริหารความเสี่ยง
ที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ

Water Management for Water Availability Drought-Prone Area
Water related risks management
Sensitivity Analysis and Stress testing
Scenario Planning & Sensitivity Analysis
การประเมิน Worst Scenario ฉากทัศน์ที่ส่งผลกระทบมากที่สุด

เพื่อสร้างความมั่นใจว่าองค์กรสามารถบริหารการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เอสซีจี เคมิคอลส์นำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ โดยกำหนดกระบวนการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ อาทิ ปริมาณฝน ความเสี่ยงที่อาจเกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่ และกำหนดแนวทางรับมือต่อสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประเมินสถานการณ์น้ำกับภาครัฐในการประชุม คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ที่ Smart Water Operation Center (SWOC) กรมชลประทาน ทุกสัปดาห์ รวมทั้งร่วม Key man Water War room ภาคตะวันออก เพื่อประเมินสถานการณ์ น้ำในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งหรือภัยน้ำท่วมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน โดยเมื่อสถานการณ์น้ำมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำจะมีการแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ ตลอดจนมีการเรียกใช้แผนรับมือเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจ

บริษัทฯได้จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการน้ำและได้รับเลือกเป็นผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ความต่อเนื่องในการส่งน้ำจากแหล่งน้ำมายังภาคการผลิตในอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน

To ensure SCGC timely manages water related risks, by setting risk management process to monitors water situation, including rainfalls, potential flood, or drought. SCGC representatives attended Government Water Management Taskforces such Water Basin Committee, Keyman Water War room in Eastern to strengthen competitive advantage, supply ability, and sustainability, In addition, we have been participating government weekly meeting regarding water situation trend analysis with the government sector by attending “Water Situation Monitoring and Analytic” at the Smart Water Operation Center (SWOC), Royal Irrigation Department to ensure disaster-risk preparedness in our operation areas.

  1. Subsequently, we have summarized the situation simulate potential scenarios incorporated with AQUEDUCT Water Risk Atlas data to assess risks related to water scarcity and stress area
  2. Sharing to related committees in Sustainable Development Structure to assess water related risks
  3. Preparing Risk Mitigation Plan to manage those risk which the risk dashboard escalation process will be reported to Risk Management Committee (RMC) as quarterly basis. While in case of emergency and Crisis Management Team BMT SCGC will be triggered to support and strategic direction when necessary.

In addition, SCGC monitors water level of the 3 major reservoirs Dokkrai, Nongplalai, and Klongyai) in Rayong Province, which mainly supply water to manufacturing base in Map Ta Phut, by drawing up a water situation scenario to forecast water quantity in the reservoirs. SCG BCM team used ENSO forecast model, Royal Irrigation Department, Keyman Water War Room and In-house modeling to analyze the precipitation and estimate water inflow pattern in various scenarios.

องค์กรได้วางแผนฉากทัศน์ที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลัก จ.ระยอง ที่ส่งน้ำให้อุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด ได้แก่ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ นำมาประเมินสถานการณ์ไปข้างหน้า 1-2 ปี โดยพิจารณาปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำในปริมาณที่แตกต่างกันจนถึงฉากทัศน์ที่ส่งผลกระทบมากที่สุดWorst Scenario ได้แก่

  1. ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ย
  2. ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุดใน 1 ปี
  3. ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุดต่อเนื่อง 2 ปี

องค์กรได้ประเมินฉากทัศน์ที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการขาดแคลนน้ำต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่รวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ในฉากทัศน์มีการคาดการณ์ หากมีปริมาณน้ำจำกัด และส่งเข้ากระบวนการผลิตลดลง จะมีการปรับการผลิตให้เดินโรงงานอย่างไรให้เหมาะสม ตลอดจนบูรณาการมาตรการลดผลกระทบต่างๆเพื่อลดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ จะมีการเรียกใช้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ-ภัยแล้ง BCP-Drought แผนแหล่งน้ำสำรองในที่ต่างๆ ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพิจารณา Minimum Service Level ต่อลูกค้าเป็นสำคัญ รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่า Supply Chain เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

ในระยะยาว องค์กรได้ประสานกับสำนักงานทรัพยากรแห่งชาติ (สทนช.) และสำนักงานชลประทานในพื้นที่เพื่อช่วยผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำใน EEC อาทิ โครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำ โครงการเพิ่มความจุ โครงการใช้น้ำอย่างประหยัดต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะ 10-15 ปี ข้างหน้า

Risk Management 4 Steps

01

ระบุ
ความเสี่ยง

SCG Risk Universe

02

ประเมิน
ความเสี่ยง

SCG Heatmap & Assessment Criteria

03

ตอบสนอง
ความเสี่ยง

SCG Risk Response Strategies

04

รายงานและติดตาม
ความเสี่ยง

SKRI, SCG Risk Register Risk Dashboard

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ทางทะเล

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของ SCGC เป็นอุตสาหกรรมที่โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลถึงแม้ว่าจะมีการดำเนินงานสอดคล้องตามที่ กฎหมายกำหนด แต่ในอนาคตจะมีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสที่จะเกิด การสะสมแล้วก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของสัตว์น้ำและ ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของทั้ง พนักงานและชุมชนที่โรงงานตั้งอยู่ สิ่งที่ SCGC ทำก็คือในขณะนี้คือมีการศึกษาในเรื่องของ การฟื้นฟูการสร้างการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเล มีโปรเจคการทำ CSR อาทิการทำบ้านปลา


ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เราได้วางบ้านปลาในชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ครอบคลุม พื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ซึ่งได้ตั้งไปแล้ว 2,180 หลัง และมีการศึกษาวิจัยเพื่อ ติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จัดวางบ้านปลาอย่าง ต่อเนื่อง โดยได้พบสิ่งมีชีวิตที่มี ความหลากหลายสูงสุด 174 ชนิด ในพื้นที่ที่ศึกษา

ป่าไม้

การเติบโตของ Bio Based Plastic ทำให้มีความเสี่ยงในการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อที่จะนำพื้นที่มาเพาะปลูกพืชพันธุ์ ที่นำไปใช้ผลิต ไบโอพลาสติก SCGC ได้มองเห็นประเด็นความเสี่ยงในข้อนี้จึงได้มีการจัดการโดยกำหนดในการเลือกใช้ผลิตผลทางการเกษตรที่ไม่ได้เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า และได้รับการรับรอง Certificate ที่ยอมรับกันในระดับสากล เช่น BONSUCRO (มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน)