เทรนด์ใหม่ใกล้ฉัน 6 เทรนด์ปี 2025 พลิกโฉมธุรกิจยั่งยืน
ESG และ Sustainability หรือเรื่องความยั่งยืน กำลังก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในปี 2025 โดยเฉพาะ ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืนและนวัตกรรมที่ช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะที่ภาคธุรกิจต่างกำลังเร่งมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้ได้ภายในปี 2030 ปัจจัยสำคัญอย่างแรงกดดันที่มาจากระเบียบและข้อบังคับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการเติบโตของ AI ได้ช่วยขับเคลื่อนให้ ESG มุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใสและการมีความ รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ เหล่านี้ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
SCGC ชวนมาอัปเดต 6 เทรนด์สำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2025 ซึ่งจะพลิกโฉมกลยุทธ์การทำธุรกิจขององค์กรและช่วยปูทางสู่อนาคตที่ยั่งยืน
------------------------------------------------------------------------------------
เทรนด์#1 การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน แบบติดสปีด!
ภูมิทัศน์พลังงานในปี 2025 นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อประเทศและองค์กรต่าง ๆ เร่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยหนึ่งในเทรนด์ปี 2025 ที่น่าจับตามองคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และความก้าวหน้าที่ลักลั่นกันในบางอุตสาหกรรมที่ยากต่อการลดการปล่อยมลพิษยังคงเป็นความท้าทายต่อธุรกิจยั่งยืน ในขณะที่เทรนด์ ESG ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างความมั่นคงด้านพลังงาน ความคุ้มค่า และความยั่งยืน ดังนั้นปีนี้จะเป็นปีที่กำหนดกลยุทธ์รูปแบบใหม่เพื่ออนาคตและสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์และโซลูชันครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ด้วยแนวทาง Low Waste Low Carbon มุ่งมั่นนำโซลูชันพลังงานสะอาดมาใช้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1 และ Scope 2 พร้อมทั้งลดต้นทุนพลังงานอย่างต่อเนื่องตลอด 6 ปีที่ผ่านมา หนึ่งในนวัตกรรมที่โดดเด่นคือ SCGC Floating Solar Solutions ซึ่งเป็นโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ด้วยแพลตฟอร์มที่ทนทาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และติดตั้งง่าย นอกจากนี้เรายังร่วมมือกับ Braskem ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตรแทนเอทิลีนจากฟอสซิลด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก โดย SCGC จะนำเอทิลีนชีวภาพไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง ESG ของ SCGC และนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย
เทรนด์#2 Circular Economy “ทางรอด” ไม่ใช่ทางเลือก
เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นการปฏิวัติแนวทางการทำธุรกิจยั่งยืน โดยเปลี่ยนจากรูปแบบที่สร้างของเสียไปสู่ระบบที่ลดขยะและหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทรนด์สำคัญในด้าน ESG ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้แก่ โมเดลธุรกิจแบบ Product as a Service (PaaS) ที่เปลี่ยนจากการขายผลิตภัณฑ์มาเป็นการให้บริการ โดยผู้ผลิตยังคงเป็นเจ้าของและรับผิดชอบในการบำรุงรักษา และจัดการผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งาน Sharing Economy หรือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน เป็นส่วนหนึ่งของ Circular Economy ได้ เช่น บริการแชร์รถ (Car Sharing) ช่วยลดการผลิตรถยนต์ใหม่ บริการการเช่าเสื้อผ้า แทนการซื้อใหม่ ช่วยลดขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่น ตลาดมือสอง และการใช้ทรัพยากรร่วมกันในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Symbiosis) ซึ่งกำลังพลิกอุตสาหกรรมอย่างมีนัยยะสำคัญ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างและส่งเสริมความยั่งยืน แต่ยังเพิ่มความสามารถในการทำกำไรด้วยการลดการพึ่งพาวัตถุดิบใหม่ ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างรายได้ใหม่จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ในบริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้น ระบบวงจรปิด หรือ Closed-loop Program เป็นแนวทางสำคัญที่นำทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดกลับมารีไซเคิลเข้าสู่กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะทิ้งไปหลังการใช้งาน SCGC ได้ดำเนิน Closed-loop Program ร่วมกับพันธมิตรมาตั้งแต่ปี 2022 โดยร่วมมือกับ Ellen MacArthur Foundation และบริษัทชั้นนำ 10 แห่ง ที่น่าสนใจได้แก่ Microsoft และ BASF เพื่อศึกษาแนวทางการรีไซเคิลฟิล์มหุ้มพาเลท (Pallet Stretch Wrap) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบเดิม โครงการนี้มุ่งพัฒนาโซลูชันหมุนเวียนสำหรับ Closed-loop Recycling เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัสดุเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน ในเดือนมีนาคม 2024 เรายังผลักดันโครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ร่วมกับ Global House โดยแปลงพลาสติกใช้แล้วจากร้านค้าปลีกและศูนย์กระจายสินค้าของพวกเขาให้กลายเป็นถุงพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ High-Quality PCR จาก SCGC GREEN POLYMER™
เราได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ HomePro เพื่อเปิดตัวโครงการ “Closed-Loop Circular Appliances” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยการรีไซเคิลเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน Circular Plastics บริษัทในเครือของ SCGC ในเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้นำด้านธุรกิจยั่งยืนผ่านการนำเสนอโซลูชันการขนส่งและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้พลาสติกรีไซเคิล 100% จาก Closed-loop Program ทีมงานของเรายังมีบทบาทสำคัญใน Circular Plastics Alliance โดยร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อผลักดันเทรนด์ ESG ผ่านโครงการที่มุ่งเน้นการออกแบบ การรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของความยั่งยืนและยังช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรม
เทรนด์#3 คาร์บอน (Carbon) การลดและตลาดเครดิต
อีกหนึ่งแนวโน้มสำคัญในปี 2025 คือ การลดคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาตลาดคาร์บอนกลาย ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนปี 2030 โดยการจัดการกับการปล่อยก๊าซใน Scope 3 จะเป็นหัวใจสำคัญ ตัวอย่างที่น่าสนใจจากหลายบริษัท คือ เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบในห่วงโซ่คุณค่า ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองตลาดคาร์บอนทั่วโลกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลกระทบทางตรงจากมาตรา 6 ของข้อตกลงปารีส ที่กำหนดกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีกลไกตลาดคาร์บอนเป็นส่วนสำคัญ เช่น ระบบ ETS ของสหภาพยุโรป ในด้านเทรนด์ ESG การใช้เครดิตคาร์บอนคุณภาพสูงและการส่งเสริมตลาดคาร์บอนโดยสมัครใจจะมีบทบาทสำคัญ โดยตลาดเหล่านี้กำลังเติบโตพร้อมกับมาตรฐานความน่าเชื่อถือที่ดีขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาอย่างบราซิล อินเดีย และเม็กซิโก ต่างก็กำลังออกแบบตลาดคาร์บอนเพื่อระดมทุนด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสร้างโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจยั่งยืนทั่วโลก จากภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงนี้บริษัทที่ให้ความสำคัญและบูรณาการนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนจะเป็นผู้นำในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น
ปี 2025 จะเป็นปีที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) ซึ่งเข้ามาช่วยปรับแนวทางธุรกิจยั่งยืน SCGC เล็งเห็นโอกาสและความสำคัญของเรื่องนี้จึงร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกเพื่อผลักดันนวัตกรรมที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน เช่น โครงการ PYROCO2 ที่มีเป้าประสงค์จะเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตพลาสติก เพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรแบบดั้งเดิม นอกจากนี้เรายังร่วมมือกับ IHI ในการจับก๊าซที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิต เพื่อนำมาใช้แทนนาฟทา ซึ่งช่วยเสริมเป้าหมายการลดคาร์บอน อีกหนึ่งความร่วมมือที่โดดเด่นของ SCGC คือการพาร์ตเนอร์กับ Avantium N.V. ในการสร้างพอลิเมอร์ที่มีคาร์บอนติดลบ เช่น PLGA ซึ่งสามารถย่อยสลายได้และรีไซเคิลได้แม้ในสภาพแวดล้อมทางทะเล นวัตกรรมเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังสอดคล้องกับหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย

ในอีกทางหนึ่งที่นอกเหนือจากภาคีการพัฒนานวัตกรรมด้าน CCUS นั้น SCGC ได้ช่วยยกระดับความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยกลไกทางธรรมชาติ (Natural Climate Solutions - NCS) โครงการ "ปลูก-เพาะ-รัก" ที่เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2018 ได้ช่วยลดผลกระทบของภาวะโลกร้อนโดยการขยายพื้นที่สีเขียวในจังหวัดระยอง ด้วยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ และอาสาสมัครกว่า 9,000 คน โครงการนี้ได้เพิ่มจำนวนป่าชายเลนและป่าบกไปแล้วเป็นจำนวนกว่า 368,729 ต้น (ข้อมูล ณ ปี 2018) นอกจากนี้ SCGC ยังร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในการนำโครงการ “ปลูกป่าชายเลน” ซึ่งมุ่งฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและขยายพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน โดยมีต้นกล้ากว่า 500,000 ต้นที่ถูกปลูกและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยการจ้างงานสมาชิกชุมชนอีกด้วย SCGC ยังเป็นบริษัทปิโตรเคมีแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรอง Premium T-VER ซึ่งแสดงถึงการทำธุรกิจยั่งยืนและนวัตกรรมในการสร้างผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่วัดผลได้ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
เทรนด์#4 น้ำนั้นยิ่งสำคัญในปีนี้
อีกเรื่องที่เราจะได้เห็นความสำคัญมากขึ้นในปี 2025 คือ ความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ หรือ Water Stewardship ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการทำธุรกิจยั่งยืน ภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้งรุนแรงขึ้นอย่างที่เราได้รับรู้กัน ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ความเร่งด่วนในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำชัดเจนยิ่งขึ้น ในด้านเทรนด์ ESG การบริหารจัดการน้ำจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ โดยภาคอุตสาหกรรม เช่น เกษตรกรรม ได้เริ่มนำเทคโนโลยีระบบวงจรปิดมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำและการรีไซเคิล ตลาดซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคด้านน้ำกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยความต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อจัดการคุณภาพน้ำและลดของเสีย เมื่อความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งสำคัญ การลงทุนในความมั่นคงทางน้ำจึงไม่ใช่แค่ความจำเป็น แต่ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับแบรนด์ในการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและมั่นคง
โครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเขายายดา จ.ระยอง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง SCGC และชุมชนในจังหวัด มุ่งส่งเสริมการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่านการปลูกป่า การสร้างฝายชะลอน้ำ และการดำเนินงานที่นำโดยชุมชน โครงการนี้ช่วยฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมและสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้กับพื้นที่และชุมชน ตามการสำรวจสิ่งแวดล้อมในปี 2021 พื้นที่เขายายดาช่วยเพิ่มปริมาณการไหลของน้ำท่าประจำปีมากกว่า 14 ล้านลูกบาศก์เมตร มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยตลอดทั้งปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส ช่วยกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยกว่า 38.5 ตันต่อไร่ นอกจากนี้ เกษตรกรในพื้นที่ยังได้รับประโยชน์จากผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึง 79 ล้านกิโลกรัมต่อปี โครงการนี้เป็นตัวอย่างของการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน
เทรนด์#5 ปกป้องและอนุรักษ์สัตว์ป่า-พรรณพืช
การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพกลายเป็นอีกหนึ่งในเทรนด์ที่ต้องจับตามองในปี 2025 ธุรกิจต่าง ๆ เริ่มบูรณาการการอนุรักษ์ธรรมชาติเข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจยั่งยืน ด้วยการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เพิ่มขึ้น หลายธุรกิจกำลังปรับเป้าหมายให้สอดคล้องกับกรอบงานโลก ตัวอย่างสำคัญคือ กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework - GBF) ซึ่งตั้งเป้าหมายในการฟื้นฟูธรรมชาติภายในปี 2030 ส่วนเทรนด์ ESG นั้น การจัดการทุนธรรมชาติอย่างยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญ เราจะเห็นว่าหลายธุรกิจเริ่มนำโซลูชันที่อิงธรรมชาติมาใช้ ฟื้นฟูระบบนิเวศและส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนเพื่อลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เครื่องมือทางการเงิน เช่น Blue Bond หรือ ตราสารหนี้สีฟ้า และกองทุน ETF ที่มุ่งเน้นความหลากหลายทางชีวภาพ กำลังได้รับความนิยมในการระดมทุนเพื่อการอนุรักษ์ นอกจากนี้ องค์กรที่กำหนดมาตรฐานอย่าง ISSB กำลังพัฒนากรอบการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อช่วยบริษัทจัดการและรายงานความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ
จากการศึกษาโดยการสำรวจและแปรภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเขายายดา จ.ระยอง ช่วยทำให้มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น พบพรรณไม้ถึง 120 ชนิดพันธุ์ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า 123 ชนิด
เทรนด์#6 AI หัวใจความยั่งยืน
อีกหนึ่งเทรนด์สำคัญในปี 2025 เทรนด์สุดท้าย คือ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data ซึ่งเป็นตัวกำหนดเทรนด์ใหม่ในด้านความยั่งยืน โดยสร้างการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI เช่น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) และ Digital Twins จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ปรับปรุงการใช้พลังงาน และจำลองความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจยั่งยืน เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมที่เป็นตัวอย่างได้ดี คือ เกษตรกรรม พลังงาน และการผลิต สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่ลดของเสียและปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ AI ยังจะปฏิวัติเทรนด์ ESG ด้วยการทำให้การเก็บข้อมูลเป็นระบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำของตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน และเปิดโอกาสให้มีการรายงานแบบเรียลไทม์เพื่อตอบสนองต่อข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ การนำ AI และ Big Data มาใช้จะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการดำเนินธุรกิจที่สมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
แม้ว่า AI จะมีศักยภาพสูงในการเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ แต่การสร้างสมดุลระหว่างการใช้งาน AI กับการบริโภคพลังงานของมันจะกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น นักพัฒนาจะมองหาวิธีแก้ปัญหาด้านพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactors) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่ศักยภาพของ AI ในการลดคาร์บอนยังคงมีความหวัง หลักฐานที่ชัดเจนถึงประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา เมื่อภาคอุตสาหกรรมนำนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้ในปี 2025 นี้ โฟกัสจะอยู่ที่การเพิ่มประโยชน์ด้านความยั่งยืนให้สูงสุด พร้อมกับจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของ AI ด้วยการใช้ AI อย่างรับผิดชอบ ธุรกิจสามารถผลักดันเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ เร่งกระบวนการลดคาร์บอน และมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น
SCGC ใช้ประโยชน์จาก AI และเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกกระบวนการของการทำธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง DRS by REPCO NEX บริการด้านดิจิทัลโซลูชันอัจฉริยะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ครบวงจรรายแรกของโลก ซึ่งเป็นธุรกิจชั้นนำในเครือ SCGC ได้นำเสนอโซลูชัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การซ่อมบำรุงอัจฉริยะครบวงจรด้วยนวัตกรรมดิจิทัล 2. ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน 3. ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ช่วยบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียน

ปี 2025 ที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงด้าน ESG และความยั่งยืนที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ธุรกิจต่างเผชิญกับแรงกดดันด้านกฎระเบียบ ความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ และการประยุกต์ AI เข้ากับการดำเนินงาน อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลักดันเทรนด์ที่เน้นเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดรับชอบ ในบริบทที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ กำลังแข่งขันกันเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้ได้ภายในปี 2030 การยอมรับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและเร่งพัฒนานวัตกรรมกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน SCGC ถือเป็นแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะเรามุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินโครงการที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเกิดขึ้น ด้วยการให้ความสำคัญกับนวัตกรรมควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม เรายังคงนำพาองค์กรไปสู่การแก้ไขปัญหาระดับโลก พร้อมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและสมดุลมากยิ่งขึ้น
---------------------------
References: