#3 : การคิดค้นและพัฒนาบรรจุภัณฑ์
SCGC เชื่อมั่นว่า การบริโภคอาหารที่มีคุณภาพเยี่ยมภายใต้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดรับกับ Sustainability Trends ของโลก จะช่วยตอบโจทย์ทั้งในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food security) ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) เราจึงใช้ความเชี่ยวชาญด้าน Green Innovation มายกระดับบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารให้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย บนมาตรฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เมื่อเร็ว ๆ นี้ SCGC ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint venture) กับกลุ่มบริษัท Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ โดยเราตั้งเป้าผลิต เอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร 200,000 ตันต่อปี แทนเอทิลีนจากฟอสซิลด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เอทิลีนชีวภาพนี้จะถูกนำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง ESG ของ SCGC และนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย
เรายังได้จับมือร่วมกับ Prepack (พรีแพค) และPFP (พีเอฟพี) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็งรุ่นใหม่ที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้ นวัตกรรมที่ตอบ Sustainability Trends ดังกล่าวก็คือ การผลิตฟิล์มแบบดึงยืด 1 ด้าน (MDOPE film) จากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีน SCGC™ HDPE H619F ให้เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติพิเศษในด้านการทนความร้อนสูง สามารถใช้เป็นชั้นพิมพ์ (Printing Layer) แทนวัสดุเดิมคือ ฟิล์มไนลอน (BOPA หรือ Nylon Film) สู่การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวให้มีโครงสร้างเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันทั้งชิ้น (Mono Material) เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#4 : การส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
SCGC เล็งเห็นเทรนด์การเติบโตของธุรกิจยานยนต์ จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรคิดค้นพัฒนาเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษที่ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับรถยนต์โดยเฉพาะ โดยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเด่นทั้งในด้านความคงทน แข็งแรง และมีน้ำหนักที่เบาลง
เราได้พัฒนาเม็ดพลาสติก SCGC™ PP P765J ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อแรงกระแทกสูงเป็นพิเศษ (Ultra-high impact resistance) และสามารถไหลตัวได้ดี (High flow) ยืดตัวได้มากขึ้น (High elongation) และมีความเหนียว ไม่หักเปราะหรือแตกง่าย (Ductile) เหมาะสำหรับใช้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในส่วนที่มีโอกาสรับแรงกระแทกสูงอย่างแผงประตูด้านข้างรถยนต์ (Door trims) กันชนหน้า-หลัง (Front-rear bumper) และแผงควบคุมคอนโซลรถยนต์ (Instrumental panel) ที่แม้จะเป็นการใช้งานภายในรถ แต่ก็มั่นใจได้เรื่องความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน เพราะเม็ดพลาสติกชนิดนี้มีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายในระดับต่ำ (Low VOCs) และอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
SCGC ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรพัฒนาเม็ดพลาสติก SCGC™ PP P1085J ที่มีค่าอัตราการไหลของพลาสติก หรือ Melt Flow Rate ที่สูงขึ้นอย่างมาก เมื่อนำไปขึ้นรูปชิ้นงานแล้วมีความบางลงจากเดิม และยังสามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยยังคงคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ของเม็ดพลาสติกเอาไว้ครบถ้วน เม็ดพลาสติกดังกล่าวยังทำให้ได้ชิ้นงานที่บางลงกว่าเดิมราว 0.5 มิลลิเมตร และลดน้ำหนักชิ้นงานพลาสติกชิ้นส่วนรถยนต์ลงได้ 10% เมื่อเทียบกับแบบเดิม แถมยังช่วยลดการเกิดริ้วรอย Defect ระหว่างการฉีดขึ้นรูป (Gate String) ทำให้ได้ชิ้นงานคุณภาพสูง แต่ใช้ปริมาณเม็ดพลาสติกในการผลิตน้อยลง ตอบโจทย์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในแง่การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าอีกด้วย
นอกจากนี้ SCGC ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับบริษัท Denka Company Limited หรือ Denka ประเทศญี่ปุ่น เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย อะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ในจังหวัดระยอง คาดว่าจะมีกำลังการผลิตประมาณ 11,000 ตันต่อปี และโรงงานสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ภายในต้นปี 2568
#5 : การฟื้นฟูและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 SCGC ได้ตัวโครงการ “ปลูก เพาะ รัก” : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวทางและเป้าหมายด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) เพื่อช่วยลดวิกฤติภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานจิตอาสา เดินหน้าปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ด้วยการปลูกป่าชายเลน และป่าบก การเพาะต้นกล้าเพื่อจัดสรรให้พื้นที่ที่ขาดแคลน รวมไปถึงการปลูกป่าในใจคน ด้วยแนวคิดคนดูแลป่า ป่าดูแลคน สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของประเทศ เพื่อโลกและสังคมที่ยั่งยืนต่อไป
เรายังได้ขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แบบมาตรฐานขั้นสูง เรียกว่า Premium T-VER ไปยังองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ซึ่งมีเกณฑ์ในการดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้นและเป็นมาตรฐานสากล ที่มีกระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน รวมถึง ต้องประเมินและป้องกันผลกระทบด้านลบ (Safeguards) ตามกฎหมาย/ข้อบังคับเพื่อไม่ให้โครงการเกิดผลกระทบด้านลบ (Do-no-net-harm) แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
SCGC ยังคงมุ่งมั่นคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ ที่นอกจากจะช่วยสร้างการเติบโตให้กับภาคอุตสาหกรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคมแล้ว นวัตกรรมของเรายังตอบโจทย์ Sustainability Trends ของโลก โดยช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เกิดจาก โลกร้อน (Global Warming) และ โลกเดือด (Global Boiling) ได้