close

10 มิ.ย. 2567

อัปเดต 4 เทรนด์เทคโนโลยี 2024 “สู้วิกฤต” ภาวะโลกร้อน-ภาวะโลกเดือด

Business ESG Circular Economy Innovation Solutions Sustainability Digitization Investor Relations

66% คือโอกาสที่โลกของเราจะร้อนขึ้นอีก 1.5 °C ภายในปี 2027 ซึ่งเป็นการออกโรงเตือนจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นี่ยังไม่นับรวมวิกฤตทางธรรมชาติที่เรารับรู้ได้ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนที่แผดเผาหนักสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งในอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย รวมถึงไทย เหตุไฟป่ารุนแรงทั่วโลก หรือเหตุที่สัตว์ทะเลจำนวนมากถูกพัดมาเกยตื้นตายบนชายหาด โดย SCGC เชื่อว่าเราทุกคนน่าจะรู้คำตอบว่ามีต้นตอมาจากปัญหาเดียวกัน นั่นคือ “โลกรวน” ซึ่งครอบคลุมถึง ภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ภาวะโลกเดือด (Global Boiling)

โลกร้อน-โลกเดือด รุนแรงแค่ไหน พิสูจน์ได้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา

สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี 2023 ได้สิ้นสุดลงแล้ว1 ทว่าปรากฏการณ์นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการซ้ำเติมภาวะโลกร้อนระยะยาวที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ โดยเอลนีโญ (El Niño) เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ และสามารถระบุได้จากการวัดค่าของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกในเขตร้อนสูงกว่าปกติ ความดันบรรยากาศสูงกว่าระดับปกติที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (แปซิฟิกตะวันตก) และความดันบรรยากาศต่ำกว่าปกติที่ตาฮิติ หมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส (แปซิฟิกตอนกลาง)

นักวิทยาศาสตร์ยังสังเกตเห็นว่า ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นระหว่างเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนขึ้นในเขตร้อน หากพืชเจริญเติบโตช้าลงเนื่องจากภัยแล้ง แปลว่าพวกมันดูดซับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยลง ขณะที่มีไฟป่ามากขึ้นในพื้นที่อย่างเอเชียใต้ ส่งผลให้มีการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ผลก็คือทำให้ภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) มีความรุนแรงขึ้น

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อหลายสำนักทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างพากันนำเสนอเรื่อง "ปะการังฟอกขาว” หรือ “Coral Bleaching” โดยครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นรอบที่ 4 ของโลก2 ครอบคลุมพื้นที่การฟอกขาวของแนวปะการังมากกว่าร้อยละ 54 ใน 53 ประเทศ/ ดินแดนทั่วโลก ทั้งนี้เหตุปรากฏการณ์ดังกล่าวสามครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1998, ค.ศ. 2010 และช่วง ค.ศ. 2014-2017 ซึ่งการฟอกขาวครั้งใหญ่แต่ละครั้งเป็นผลพวงสำคัญที่เกิดจากเอลนีโญ (El Niño) และตอกย้ำกิจกรรมของพวกเราที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง 

อีกหนึ่งเหตุการณ์อันน่าหดหู่ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ก็คือ สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ต่างถูกพัดมาเกยตื้นตายเกลื่อนชายหาดทั่วโลก และหลังจากนั้นก็มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นตามมา เหตุกาณ์ที่น่าสนใจคือ การตายของปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรลหลายหมื่นตัวที่เทศบาลเมืองฮาโกดาเตะ ในจังหวัดฮอกไกโด ทางเหนือสุดของญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงเดือนเดียวก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง 7.6 แมกนิจูด มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนคาบสมุทรโนโตะ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น ส่งผลให้เสียชีวิตนับร้อย บ้านเรือนพังเสียหายยับ3 นี่ยังไม่นับรวมเหตุการณ์ ‘กระแสน้ำสีแดง’ ที่เกิดจากปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Algae Bloom) ส่งผลให้ปลาลอยตายเต็มชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐฟลอริดา ขณะที่ซานฟรานซิสโกก็เผชิญกับเหตุการณ์เดียวกันนี้จนทำให้มีปลาหลายพันตัวตายเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี 2023 และเหตุการณ์ที่เพนกวินสีน้ำเงินตัวน้อยนับร้อยล้มตายเกลื่อนที่พื้นที่แนวชายฝั่งของนิวซีแลนด์ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน

นอกเหนือจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างเห็นได้ชัดแล้ว วิกฤตนี้ยังส่งผลกระทบต่อผลผลิตเกษตรกรรมทั่วโลกอย่างมาก เพิ่มต้นทุนภาคการผลิต ราคาอาหารโลกปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลางแจ้งโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงจนก่ออันตรายต่อสุขภาพ นี่ยังไม่นับรวมข้อพิพาทเชิงมนุษยธรรมที่ถูกทำให้เป็นวาระซ่อนเร้นซึ่งมาจากการฉกฉวยหาประโยชน์บนความรุนแรงของเหตุการณ์ดังกล่าว อาทิ การอ้างสิทธิ์ทางทะเลเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่ชายฝั่งใหม่ของประเทศต่าง ๆ
โลกร้อน-โลกเดือด ทะลุปรอทถึงไหนแล้ว ชวนดูอุณหภูมิโลกปัจจุบัน

COP28 หรือการประชุมระดับโลกว่าด้วยการจัดการกับปัญหาโลกรวน ครั้งที่ 28 ซึ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อปลายปีที่แล้ว พร้อมกับข้อสรุปว่าโลกจะต้องเร่งรัดการลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ด้วยการเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานทดแทน และเพิ่มสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานทดแทนเป็นสามเท่าภายในปี 2030 นอกจากนี้ ความคืบหน้าสำคัญจาก COP28 ก็คือการจัดตั้งและดำเนินงานกองทุนชดเชยการสูญเสียและความเสียหายในปีนี้ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศเปราะบาง รวมถึงการวางกรอบแนวทางในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าทุกฝ่ายกำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน-โลกเดือด แต่ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเราทุกคนต่างสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิ “ความร้อน” ที่สูงกว่าปกติ องค์การบริหารกิจการด้านมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือโนอา (The National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) แถลงผลการตรวจวัดล่าสุดของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกประจำปีเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยพบว่าปลายปีที่แล้วมีความเข้มข้นสูงสุดเป็นอันดับที่สี่

คาร์บอนไดออกไซด์ทำหน้าที่เหมือนเทอร์โมสตัท (Thermostat) หรืออุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติของโลก ยิ่งมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในอากาศมากเท่าไร โลกก็จะยิ่งอบอุ่นมากขึ้นเท่านั้น

โดยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 คงที่อยู่ในระดับ 280 ppm (ส่วนในล้านส่วน) มาเป็นเวลานานหลายล้านปี แต่ในปีที่ผ่านมาระดับก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 419 ppm ซึ่งมากกว่าช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกือบครึ่ง ! นั่นหมายความว่ามีโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 50% จากในปี 1750 เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ก็จะกักเก็บความร้อนและทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปด้วย

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาเป็นปีที่โลกของเรากำลังรับมือกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่าง “เอลนีโญ (El Niño)” ที่เกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์นี้ทำให้อุณหภูมิในมหาสมุทรอุ่นขึ้น จนไปกระตุ้นให้เกิดภัยพิบัติมากมาย เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ซึ่งประเทศที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกที่เน้นทำเกษตรกรรมเป็นหลัก จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม หรือ ช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด

ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงในปัจจุบันทำให้เป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในการจำกัดภาวะโลกร้อนและโลกเดือดไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายกับหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้น เพื่อจำกัดภาวะวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าวให้ถึงเกณฑ์นี้ ผู้เชี่ยวชาญเสนอว่าประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องระงับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกและลดการปล่อยก๊าซนี้ให้เหลือใกล้ศูนย์ในเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษ พร้อมกับหานวัตกรรมที่ตอบเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ เทรนด์นวัตกรรม และเทรนด์ความยั่งยืน 2024 เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการลดผลกระทบจากโลกร้อน-โลกเดือดให้เห็นผลเชิงประจักษ์มากยิ่งขึ้น

โลกร้อน-โลกเดือด SCGC ชวนอัปเดต เทรนด์เทคโนโลยี 2024 สู้วิกฤตนี้

ในขณะที่โลกกำลังต่อสู้กับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จุดตัดของเทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ เทรนด์เทคโนโลยี 2024 และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นจุดสนใจสำหรับโซลูชันนวัตกรรมในปัจจุบันและของอนาคต ดังนั้น SCGC จึงได้รวบรวม 4 เทรนด์เทคโนโลยี 2024 และ เทรนด์ความยั่งยืน 2024 ที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบของโลกร้อน-โลกเดือดไว้ที่นี่

    • การใช้พลังงานทดแทน กระแสพลังงานทดแทนเป็นหนึ่งหนทางที่น่าสนใจ เช่น การผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนที่มาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ หรือ ลม เป็นรูปแบบการนำพลังงานมาใช้ที่ถูกที่สุด และกำลังการผลิต หรือการรบกวนจากธรรมชาติน้อยที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แทนรถยนต์สันดาป ปัญหาสภาพอากาศโลก ทำให้คนหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ EV หรือ Electric Vehicle) เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตขึ้นในทุกปี แน่นอนว่าหากเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวมีมากเพิ่มขึ้นจาก 20% ไป 40% และมีความเป็นไปได้ที่จะมาแทนที่รถยนต์สันดาปทั้งหมดภายในปี 2030
SCGC ได้ร่วมทุนกับ Denka พันธมิตรจากญี่ปุ่น ตั้งโรงงานผลิตและจัดจำหน่าย อะเซทิลีนแบล็ก (Acetylene Black) ที่เป็นส่วนประกอบนำไฟฟ้าในห่วงโซ่ธุรกิจผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า โครงการนี้จัดตั้งขึ้นในจังหวัดระยอง ประเทศไทย มีกำลังการผลิตประมาณ 11,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการผลิตได้ภายในต้นปี 2025 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Acetylene Black ที่นี่
    • อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน ความท้าทายอย่างหนึ่งของพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ความไม่ต่อเนื่องของธรรมชาติ ในปัจจุบันและโลกอนาคต เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-state Battery) และ แบตเตอรี่ไหลขึ้นสูง (Advanced Flow Battery) กำลังเพิ่มความจุและประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงาน เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ และ เทรนด์เทคโนโลยี 2024 เหล่านี้ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกในการบูรณาการพลังงานทดแทนเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ EV หรือ Electric Vehicle) ที่มีระยะทางไกลขึ้นและใช้เวลาชาร์จเร็วขึ้นอีกด้วย
    • การดักจับและการกำจัดคาร์บอน เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในการต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เราได้เห็นการนำโซลูชันดักจับและกำจัดคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพและปรับขนาดได้มากขึ้น ระบบดักจับอากาศโดยตรงโดยใช้กระบวนการทางเคมีขั้นสูง ช่วยแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศโดยตรง ก๊าซเรือนกระจกที่จับได้เหล่านี้สามารถเก็บไว้ใต้ดินหรือนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับการใช้งานทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งช่วยลดระดับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ
SCGC ได้ร่วมกับ Avantium N.V. ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านเคมีทดแทน (Renewable Chemistry) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อมุ่งหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยทดสอบนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาอัปไซเคิลเป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตพอลิเมอร์ PLGA หรือ พอลิเมอร์ที่คาร์บอนฟุตพรินต์เป็นลบ (Carbon-negative Plastic) โดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกระบวนการผลิต พร้อมเร่งเตรียมพัฒนาโรงงานนำร่องด้วยกำลังการผลิตกว่า 10 ตันต่อปี อ่านเพิ่มเติมรายละเอียดโครงการ ที่นี่
    • โซลูชันเศรษฐกิจหมุนเวียน หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นระบบอุตสาหกรรมที่ได้รับการบูรณะ หรือสร้างใหม่ อย่างมีเจตนาร่วมกับการออกแบบ โดยเข้ามาแทนที่แนวคิดเรื่องหมดอายุการใช้งานด้วยการฟื้นฟู เปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ และเข้าสู่นิเวศการผลิตอีกครั้ง และมีเป้าหมายเพื่อกำจัดของเสียผ่านการออกแบบวัสดุ ผลิตภัณฑ์ ระบบ รวมไปถึงแผนธุรกิจ
จาก บางซื่อโมเดล ที่ส่งเสริมให้พนักงานหมุนเวียนทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สู่การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมให้กับชุมชนโดยรอบโรงงานของ SCGC ผ่านโครงการ ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” (KoomKah) ที่ SCGC พัฒนาขึ้นมาช่วยชุมชนบริหารจัดการธนาคารขยะ ปัจจุบันมีธนาคารขยะ 13 แห่ง มีสมาชิกธนาคารขยะทั้งหมด 3,785 บัญชีมียอดสะสมขยะรีไซเคิลที่เข้าสู่ระบบกว่า 240 ตัน ช่วยลดปริมาณการฝังกลบขยะและเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 480,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
 
SCGC ได้ขยายผล โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ นี้ สู่นักเรียนในโรงเรียนด้วยโครงการ “ถุงนมกู้โลก” เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กรุ่นใหม่ให้ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยรวบรวมถุงนมโรงเรียน เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้ ปัจจุบันมีโรงเรียนสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 1,850 โรงเรียน และเก็บถุงนมได้จำนวน 1,600,000 ถุง น้ำหนักรวม 6.2 ตัน กลับมารีไซเคิล (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566)

SCGC ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และเรายังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมมุ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และมีบรรษัทภิบาล ควบคู่กับการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยแผนงานทางธุรกิจตามแนวทาง ESG และ SDGs (Sustainable Development Goals)


Is this article useful ?