อย่างไรก็ตามมีผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดกางร่มให้โลกนี้ เหตุผลสำคัญก็คือ พวกเขามองว่ามันเป็นการลงทุนที่ใช้เงินมหาศาลและเป็นวิธีที่แก้ปัญหาที่ล่าช้า ไม่ทันกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น พวกเขายังให้เหตุผลเพิ่มเติมด้วยว่า วิธีดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้มีการหยุดใช้พลังงานฟอสซิล คือ เชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน, น้ำมัน, และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักขังโดยความร้อนในชั้นบรรยากาศก็ยังคงมีอยู่
โลกรวน โลกร้อน โลกเดือด : มัดรวมสถานการณ์โลก
นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้รณรงค์อย่างหนักเพื่อไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกในปี 2100 สูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม แต่จากรายงานเฉพาะกาล State of the Global Climate in 2023 ว่า “อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงสิบเดือนแรกของปี 2023 สูงขึ้น 1.4 องศาเซลเซียส จากยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม” ไปเรียบร้อยแล้ว และเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ที่เพิ่งสิ้นสุดไป โลกเราประสบสภาพอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ และอิทธิพลของผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ก็เกิดขึ้นแล้วในมหาสมุทรแปซิฟิก
ทั้งนี้หากข้อมูลดังกล่าวได้รับการยืนยัน นั่นถือว่าเป็นการทำลายสถิติอุณหภูมิรายเดือนติดต่อกันเป็นครั้งที่ 9 ตามข้อมูลขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA)1 ซึ่งจะเผยแพร่รายงานตัวเลขสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ประมาณวันที่ 14 มีนาคมนี้
ผลที่เกิดขึ้นจากความร้อนที่ทำลายสถิติโลกนี้ ทำให้หายนะภัยทางอากาศเลวร้ายมากขึ้นในหลายพื้นที่ของโลกในปี 2023 นับต้้งแต่คลื่นความร้อนสูง ไฟป่าในแคนาดาและสหรัฐฯ ไปจนถึงภัยแล้งอันยาวนานและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา และในช่วงสองเดือนแรกของปี 2024 นี้ สภาพอากาศคล้ายฤดูใบไม้ผลิทำให้ดอกไม้เบ่งบานเร็ว ตั้งแต่ญี่ปุ่นไปจนถึงเม็กซิโก ตลอดจนเหตุไฟป่าในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ ที่มีความรุนแรงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์รัฐเท็กซัส และเผาผลาญพื้นที่ไปแล้วกว่า 2.15 ล้านไร่ ไปจนถึงไฟไหม้ครั้งใหญ่ทางตอนกลางของชิลีที่มียอดผู้เสียชีวิตสะสมปัจจุบันอยู่ที่ 112 ศพแล้ว
กระนั้นข้อตกลงที่เกิดขึ้นจากเวที COP28 ยังคงสามารถสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญในการจำกัดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนได้ แม้ว่าการควบคุมอุณหภูมิโลกให้อยู่ในเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส มีแนวโน้มจะเป็นเรื่องที่ท้าทายเราทุกคนมากยิ่งขึ้น
SCGC ร่วมผลักดัน กู้วิกฤต Climate Change
เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ผู้นำนวัตกรรมเคมีภัณฑ์แบบครบวงจรของไทยและในอาเซียนที่มีฐานการผลิตครอบคลุมทั้งในเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย เราเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ดำเนินงานตามแนวทาง ESG มุ่งมั่นและผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับการขับเคลื่อนการแก้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และตอบโจทย์เทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเทรนด์เทคโนโลยี 2024 และเทรนด์ความยั่งยืน 2024
SCGC ให้ความสำคัญการการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า เรามีทีมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1,500 คน และพาร์ตเนอร์จากทั่วทุกมุมโลก โดยหนึ่งในนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ทีเป็นไฮไลต์ของเราคือ SCGC GREEN POLYMERTM นวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation) ที่ตอบโจทย์การใช้งานและส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมใน 4 ด้าน สำคัญ ได้แก่ Reduce การลดการใช้ทรัพยากร, Recyclable การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้, Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่และ Renewable การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ SCGC ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุน (Joint venture) กับกลุ่มบริษัท Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ โดยเราตั้งเป้าผลิต เอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร 200,000 ตันต่อปี แทนเอทิลีนจากฟอสซิลด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เอทิลีนชีวภาพนี้จะถูกนำไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ Green-PE (Green-Polyethylene) ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลบ (Negative carbon footprint) สามารถรีไซเคิลได้เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง ESG ของ SCGC และนโยบายเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย
เรายังมุ่งมั่นมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจด้วยการบูรณาการแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเทคโนโลยีดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2561 – 2565 มีการดำเนินการติดตั้ง SCGC Floating Solar Solutions ให้แก่บริษัทในเครือเอสซีจีและลูกค้าภายนอกรวมมากกว่า 54 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 55.1 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 38,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้เราได้เริ่มจากการพัฒนาระบบ Energy & Performance Management System ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เราสามารถเห็นภาพรวมของการใช้พลังงานในโรงงาน รวมถึงความสามารถที่จะบ่งชี้ความผิดปกติของการใช้พลังงานในโรงงานได้ตลอดเวลา จากนั้นเพื่อทำให้โรงงานสามารถที่จะบริหารจัดการพลังงานได้เหมาะสมตลอดเวลา เราได้สร้างระบบที่เรียกว่า AI Supervisory System ขึ้นมา โดยใช้เทคนิค Machine Learning ซึ่งเป็นระบบที่เรียนรู้จากข้อมูลในอดีตเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบมีความฉลาดในการที่จะวิเคราะห์และมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีการที่ใช้อยู่เดิม
สำหรับการเป็นต้นแบบการหมุนเวียนใช้ทรัพยาการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เราได้ดำเนินโครงการ “บางซื่อโมเดล” ที่ส่งเสริมให้พนักงานใช้ทรัพยาการแต่ละประเภทอย่างคุ้มค่า คัดแยกสิ่งที่ต้องการทิ้งให้ถูกประเภทเพื่อง่ายต่อการนำไปจัดการ ทิ้งให้ลงตามสีของถังในแต่ละประเภทที่จัดไว้ให้ เพื่อให้นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ บางซื่อโมเดลนี้ปูทางไปสู่การขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมให้กับชุมชนโดยรอบโรงงานของ SCGC ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของโครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” และ โครงการ “ถุงนมกู้โลก”
และเมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา SCGC ได้เปิดตัวโครงการ “ปลูก เพาะ รัก” : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมตามแนวทางและเป้าหมายด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) เพื่อช่วยลดวิกฤติภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวมุ่งมั่นเดินหน้าปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ด้วยการปลูกป่าชายเลน และป่าบก โครงการดังกล่าวจะสามารถลดการปล่อยกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 6,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี SCGC ยังมีการศึกษาวิจัยเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้สมบูรณ์ด้วยพรรณไม้และกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในวัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle) ของระบบนิเวศอีกด้วย
SCGC ยังได้ขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แบบมาตรฐานขั้นสูง เรียกว่า Premium T-VER ไปยังองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ซึ่งมีเกณฑ์ในการดำเนินงานที่เข้มข้นขึ้นและเป็นมาตรฐานสากล ที่มีกระบวนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน รวมถึง ต้องประเมินและป้องกันผลกระทบด้านลบ (Safeguards) ตามกฎหมาย/ข้อบังคับเพื่อไม่ให้โครงการเกิดผลกระทบด้านลบ (Do-no-net-harm) แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขณะที่ Giant Parasol และความพยายามในการกางร่มให้โลกเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จะยังอยู่ในช่วงทดลองโมเดลต้นแบบ SCGC เองก็ไม่หยุดยั้งในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์ ที่ตอบรับกับเทรนด์นวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งช่วยยกระดับการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างนวัตกรรมที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบเทรนด์ความยั่งยืน 2024
_________________________________________________
แหล่งข้อมูลและรูปอ้างอิง: