ภัยแล้ง (Drought) คือ ภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ และหยาดน้ำฟ้า (Precipitation) ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในสภาวะปกติ หรือฝนไม่ตกตามฤดูกาล จึงส่งผลให้ความชื้นในดิน ปริมาณน้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง จนกลายเป็นความแห้งแล้งที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรสภาวะการขาดแคลนน้ำที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน และสมดุลของระบบนิเวศ และในปัจจุบันผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ยิ่งส่งผลที่เกิดจากภัยแล้งให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ความท้าทายจากการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization)
โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard Developing Program, EEC) ที่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2525 นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของประชากรในพื้นที่ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 ที่มีความหนาแน่นมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันก็พบการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเฉพาะการใช้น้ำของพื้นที่จังหวัดระยองในปี 2562 ที่มีส่วนต่างความต้องการใช้น้ำ 384.4 ล้านลูกบาศก์เมตร (เมื่อเทียบกับความต้องการใช้น้ำ ปี พ.ศ. 2548 ที่ 926.6 ล้านลูกบาศก์เมตร กรณีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมของจังหวัดที่มีเนื้อที่ลดลงตลอดมาตั้งปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2563 จากร้อยละ 78.67 เหลือเพียงร้อยละ 67.04 ของพื้นที่ทั้งหมด
ความท้าทายด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ยังส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนบ้านมาบจันทร์ ต.แกลง อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางทิศตะวันออกของเขายายดา ที่พบปัญหาภัยแล้ง และไฟป่าในฤดูแล้ง ในทางตรงกันข้ามช่วงฤดูฝนชุมชนประสบปัญหาน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากพื้นที่ผิวที่ไม่ซึมซับน้ำฝนและไม่มีต้นไม้ชะลอคววามเร็วของน้ำ อีกทั้งชุมชนมีความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ การเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรจากการปลูกสวนผสมเป็นพืชเชิงเดี่ยว และการเพิ่มของประชากร ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และชุมชนมาอย่างรุนแรงและยาวนานหลายสิบปี
ภาพจำของวันอันทุกข์ยากถูกเล่าซ้ำอีกครั้งผ่าน วันดี อินทรพรหม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จ.ระยอง ที่เล่าว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อนที่นี่ไม่ได้อุดมสมบูรณ์แบบนี้เลย ที่นี่เป็นเขาหัวโล้น เพราะเกิดจากการบุกรุกที่ป่า และเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ สัตว์ป่าก็หนีกันไปหมด ทำให้ที่นี่เกิดปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเป็นเวลาหลายปี พอฝนตกก็ไม่มีต้นไม้คอยดูดซับ ทำให้หน้าดินพังทลาย กักเก็บน้ำไม่ได้ เพาะปลูกไม่ได้ และต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาใช้ เราเคยรวมตัวกันปลูกป่า แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเราไม่มีความรู้ในการปลูกป่าให้สมบูรณ์
SCGC ต้นแบบนักบริหารจัดการน้ำ ตอบเทรนด์ความยั่งยืน 2024
นอกเหนือจากบทบาทความเป็นผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนของภูมิภาค SCGC ยังดําเนินการและทบทวนกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการการดําเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: 17 SDGs) และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
เมื่อ SCGC ได้รับฟังปัญหาของชาวบ้านในชุมชนบ้านมาบจันทร์ จึงเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการพลิกฟื้นชุมชนรอบเขายายดา และได้เข้ามาทำงานร่วมกันกับชาวบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกว.) เข้ามาร่วมนำงานวิจัยท้องถิ่นประยุกต์ต่อยอดกับความรู้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม พร้อมนำประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งหมดกว่าสิบกว่าปี ร่วมถ่ายทอดถอดบทเรียนสู่องค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยตนเองอย่างยั่งยืนฉบับชุมชน และเกิดเป็นแนวคิด ‘เก็บน้ำดี มีน้ำใช้’ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บขึ้น เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง สร้างระบบการจัดการน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืน
แนวคิด “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้” ด้วย โมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ
SCGC ถ่ายทอดบทเรียนสู่องค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยตนเองอย่างยั่งยืน และพัฒนาเป็นแนวคิด “เก็บน้ำดี มีน้ำใช้” โมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืน 2024 โดยมีสาระสำคัญ 4 ข้อ คือ สร้างคน สร้างกติกา เก็บน้ำ เก็บข้อมูล
4 ปัจจัย สูตรสำเร็จ โมเดล “2 สร้าง 2 เก็บ” จาก SCGC
การบริหารจัดการน้ำชุมชนในบ้านมาบจันทร์ จ.ระยอง นี้ นอกเหนือจากการมีเป้าหมายร่วมกัน คือ “อยากมีน้ำใช้เพียงพอตลอดไป” แล้ว จากการศึกษาของ มูลนิธิเสนาะ อูนากูล เรายังสามารถพิจารณาตามปัจจัยทั้ง 4 ข้อ ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการนำมาซึ่งความสำเร็จอย่างยั่งยืนให้กับโครงการ และตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืน 2024 กล่าวคือ
กว่า 10 ปี SCGC-ชุมชน ร่วมมือฟื้นวิกฤตน้ำสู่ความยั่งยืน
ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ SCGC และชุมชนชาวมาบจันทร์ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการจัดการน้ำเพื่อชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะ “ทรัพยากรน้ำ” ที่เป็นต้นธารของความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ มีน้ำในลำธารให้ผลผลิตถึง 14.83 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรโดยรอบเขายายดา คิดเป็นผลผลิตรวมทั้งสิ้น 79,382,695 กิโลกรัม/ปี ทำให้ระบบนิเวศกลับคืนสู่ป่า เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต พบสัตว์ป่า 123 ชนิด และพรรณไม้มากกว่า 120 ชนิดพันธุ์ และยังช่วยลดโลกร้อน อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยตลอดปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.49 ตัน CO2/ไร่ และดูดซับ 5.41 CO2/ไร่/ปี (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2565)
นอกเหนือจากความอุดสมบูรณ์ของธรรมชาติที่หวนกลับมาสู่ชุมชนบ้านมาบจันทร์อีกครั้ง ความร่วมมือระหว่าง SCGC และชุมชนยังต่อยอดไปสู่โครงการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ที่มีมูลค่าการท่องเที่ยว 538.54 บาท/ไร่ พร้อมรับนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ชอปปิงผลิตภัณฑ์ชุมชน และร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่าง ๆ เพื่อส่งต่อแนวคิดการบริหารจัดการน้ำท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกับผู้มาเยือน
นอกจากนี้ จากความสำเร็จของการจัดการน้ำของบ้านมาบจันทร์ ทำให้ชุมชนข้างเคียงที่ใช้น้ำจากลำคลองสายเดียวกันที่ไหลมาจากบ้านมาบจันทร์ เกิดความสนใจในการบริหารจัดการน้ำ โดย SCGC และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) ได้ร่วมกับชุมชนบ้านมาบจันทร์เป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนบ้าน หัวทุ่ง ทั้งนี้เพื่อให้น้ำได้ถูกบริหารจัดการตลอดทั้งสาย “จากพื้นที่ต้นน้ำ สู่พื้นที่ราบ จากพื้นที่สวนผลไม้ สู่พื้นที่ปลายนา”
__________________________________________________
ข้อมูลอ้างอิง