close

1 ธ.ค. 2565

ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืน

Business Circular Economy Solutions Sustainability

พันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าในระยะยาว เพราะการได้ร่วมมือกับองค์กรที่มีเป้าหมายและความมุ่งมั่นอย่างเดียวกัน จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและการส่งต่อคุณค่าสู่ผู้บริโภคได้ ดังเช่นที่ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ได้จับมือกับพันธมิตรที่เป็นแบรนด์สินค้าชั้นนำ สร้างความร่วมมือเพื่อพลิกโฉมบรรจุภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยให้รีไซเคิลได้ พร้อมนำกลับมาใช้ใหม่ ให้ดีต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน

ฝาขวดน้ำอัดลมน้ำหนักเบา ลดปริมาณพลาสติก

หากลองสังเกตรอบตัวจะพบว่า ในบรรดาบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม พลาสติกถูกนำมาใช้งานมากที่สุด ทั้งนำมาผลิตเป็นแก้ว ขวด หรือแม้แต่ฝาเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เครื่องดื่มเย็นซ่ายอดนิยมในบ้านเราที่มีการผลิตนับล้านล้านขวดต่อปี ด้วยจำนวนการผลิตที่มากระดับนี้ จะดีแค่ไหนหากเราสามารถลดปริมาณการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ลงได้

รู้หรือไม่ว่า ฝาขวดน้ำอัดลมเล็ก ๆ หากเราเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติก ก็จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้นับแสนตันต่อปี SCGC จึงได้คิดค้นเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ SX002J และ SX002JA ด้วยเทคโนโลยี SMXTM ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM ที่มีจุดเด่นทั้งในแง่ความแข็งแรงทนทาน และการลดใช้เม็ดพลาสติก แถมยังรักษาความซาบซ่าของน้ำอัดลมเอาไว้เช่นเดิม

สำหรับเม็ดพลาสติก SX002JA นี้ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานของแบรนด์น้ำอัดลมชั้นนำ ว่าสามารถใช้ผลิตฝาขวดน้ำอัดลมที่มีน้ำหนักเบาได้เป็นอย่างดี เพราะมีน้ำหนักเพียง 2.0 กรัม จากเดิมที่น้ำหนัก 2.15 กรัม นอกจากนี้ ทั้งเม็ดพลาสติก SX002J และ SX002JA ยังผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice ฉลากสินค้ารักษ์โลก ในด้านการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและยืดอายุการใช้งาน (Circularity) จากปริมาณการผลิตฝาขวดน้ำอัดลมกว่าล้านตันในแต่ละปี ด้วยนวัตกรรม SMXTM จาก SCGC GREEN POLYMERTM  จะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 458,500 ตันต่อปี ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดวิกฤตภาวะโลกร้อนให้กับโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน

ถุงบรรจุภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิลได้ง่าย ทำมาจากวัสดุเพียงชนิดเดียว

กหนึ่งชนิดของบรรจุภัณฑ์ใกล้ตัวที่ถูกนำไปใช้งานค่อนข้างมากก็คือบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว หรือ Flexible Packaging บรรจุภัณฑ์ธรรมดาหน้าตาเหมือนถุงพลาสติกนี้ แท้ที่จริงผลิตจากแผ่นฟิล์มที่รวมเอาวัสดุหลากหลายชนิด (Multi-Material) ที่มีคุณสมบัติต่างกันมาประกบเชื่อมกันด้วยชั้นกาว ซึ่งวัสดุเหล่านั้นมีจุดหลอมเหลวต่างกัน เมื่อเชื่อมกันแล้วจะไม่สามารถแกะหรือดึงแยกออกจากกันได้ จึงเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อย่างจำกัด

SCGC จึงได้คิดค้นพัฒนา Recyclable Packaging Solution เพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิม ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากแบรนด์สินค้าที่ต้องการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดได้จับมือกับไลอ้อน (ประเทศไทย) นำร่องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ครีมอาบน้ำ ‘โชกุบุสซึ’ ชนิดถุงเติมให้ใช้วัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง่าย พร้อมเตรียมขยายไปสู่บรรจุภัณฑ์สินค้าอื่น ๆ ของไลอ้อนต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ดี บริษัทไลอ้อน (ประเทศไทย) มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ และยกเลิกการใช้พลาสติกผลิตใหม่ (virgin plastic) ในบรรจุภัณฑ์ ภายในปี 2050 การจับมือกับ SCGC จึงเป็นความร่วมมือที่จะนำพาทั้งสองแบรนด์ไปสู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืนได้ในระยะยาว ทั้งในแง่ของแบรนด์ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์และแบรนด์ผู้ผลิตสินค้าไปยังผู้บริโภค

เปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์เดิม เป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล

บรรจุภัณฑ์พลาสติกในครัวเรือนถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่รองรับการใช้งานของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่แบรนด์สินค้าต่าง ๆ จะนิยมเลือกใช้พลาสติกมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม แชมพูสระผม ครีมนวดผม น้ำยาล้างจาน เป็นต้น แต่การใช้งานบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีข้อสังเกตตรงที่ว่า ผู้บริโภคมักไม่ได้นำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ซ้ำ และก่อให้เกิดพลาสติกเหลือใช้ในครัวเรือนจำนวนมาก

จะดีกว่าไหม ถ้าแบรนด์ผู้ผลิตนวัตกรรมพลาสติกจะสามารถนำพลาสติกเหลือใช้ในครัวเรือนมารีไซเคิล ให้มีคุณภาพไม่ต่างเม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่ง SCGC มองเห็นคุณค่าของพลาสติกใช้แล้ว และได้นำมาพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) เพื่อให้พลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีคุณค่าอีกครั้ง พร้อมนำไปสู่การใช้งานจริงด้วยความร่วมมือกับบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์จากพลาสติกชนิด HDPE เป็นพลาสติก HDPE รีไซเคิล (rHDPE) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้นำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง โดยเริ่มต้นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์แกลลอนน้ำยาล้างจานซันไลต์ เป็นอันดับแรก

ความร่วมมือระหว่าง SCGC และยูนิลีเวอร์ครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ ลดการใช้เม็ดพลาสติก (Virgin Resin) และเพิ่มปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin – PCR) ในบรรจุภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ รวมถึงการตรวจสอบให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์นั้น ๆ สามารถนำมารีไซเคิลได้ เพื่อนำกลับมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ เป็นการสร้างอุปสงค์ให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วชนิด HDPE เพื่อให้เกิดการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง และเก็บกลับเข้าสู่ระบบ

จากความร่วมมือกับแบรนด์สินค้าชั้นนำในการพลิกโฉมบรรจุภัณฑ์ ก็ทำให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้สินค้าคุณภาพและได้มีส่วนช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญยังเป็นการส่งต่อความมุ่งมั่นในการดูแลโลกให้น่าอยู่จากแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคนับล้าน เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน


Is this article useful ?