close

25 มี.ค. 2565

รู้จักกับพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio-Compostable Compound)

Circular Economy Product

“No one is too small to make a better world”



เพราะการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ ’ทุกคน’ สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

ในหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า โลกเกิดภาวะวิกฤตทางธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย ดังที่ปรากฏในข่าวเรื่อยมา สิ่งเหล่านี้ทำให้พิสูจน์แล้วว่า ภาวะโลกร้อนได้ขยับเข้ามาใกล้ตัวทุกคนมากกว่าที่คิด ซึ่งเป็นผลพวงจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทุกชีวิตบนโลก ทำให้เกิดคำถามว่า เราจะสามารถดูแลโลกของเรา เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่สู่คนรุ่นลูก รุ่นหลาน ได้อย่างไร ?

ในฐานะผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีมาอย่างยาวนาน จึงเกิดการพัฒนานวัตกรรม พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ในเวลาไม่นาน และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม


การแก้ไขปัญหาด้านการจัดการกับพลาสติกใช้แล้วที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ด้วยการลดปริมาณการใช้งานลงเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ อีกหนึ่งทางเลือกที่ควรทำควบคู่กันเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาคือ การทำให้พลาสติกใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยการเลือกใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากพลาสติกทั่วไป

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพคืออะไร ?

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio-Compostable Compound) คือ พลาสติกที่หลังจากผ่านกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารประกอบอินทรีย์ และมวลชีวภาพ ภายใต้อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสม โดยไม่ทิ้งสิ่งตกค้างที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ก็จะสามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ โดยสิ่งที่หลงเหลืออยู่สามารถนำมาใช้ในการปลูกต้นไม้ได้เลย โดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

แนวทางการใช้งานพลาสติกย่อยสลายได้ในอนาคต

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มีคุณสมบัติการใช้งานได้เทียบเคียงกับพลาสติกรูปแบบเดิม ทำให้ได้รับความสนใจและถูกพูดถึงมากขึ้นในวงกว้าง พร้อมกันนี้ในแต่ละประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยมีการออกระเบียบข้อบังคับใช้ภายในประเทศ เช่น ประเทศจีนที่ประกาศให้ถุงพลาสติก shopping bag ต้องเป็นพลาสติกแบบย่อยสลายได้ โดยเริ่มบังคับใช้จริงในปี 2021 ที่ผ่านมา นำร่องใน 5 เมืองใหญ่ และขยายผลบังคับใช้ทั่วประเทศภายในปี 2023 การออกข้อบังคับเหล่านี้เกิดขึ้นในหลายภูมิภาค ทั้งในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวไปเป็นเพียงบทบทเริ่มต้นเท่านั้น ในอนาคต ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จะมีความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของแต่ละประเทศแล้ว ความมุ่งมั่นในการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคต จะทำให้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพกลายมาเป็นส่วนสำคัญของโลกที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

เม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มาตรฐานระดับโลก จาก SCGC

SCGC ที่มีภารกิจสำคัญ คือ มุ่งสู่การเป็น ‘ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน’ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยล่าสุด SCGC ได้พัฒนาเม็ดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio-Compostable Compound Resin) เกรด BIOC01FN ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM ซึ่งเป็นสูตรผสมสำเร็จเฉพาะ ที่มีคุณสมบัติพิเศษพร้อมให้นำไปขึ้นรูปฟิล์มสำหรับผลิตสินค้าจำพวกถุงย่อยสลายได้ ใช้งานในทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม เพิ่มความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้เป็นอย่างดี พร้อมกับคุณสมบัติที่ครบเครื่องตามความต้องการของผู้ผลิตและผู้ใช้งาน

พลาสติกย่อยสลายได้ใช้เวลากี่ปี ? 

สำหรับนวัตกรรมเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพของ SCGC ผ่านการรับรองจากสถาบันชั้นนำของโลกอย่าง DIN CERTCO ประเทศเยอรมันนี ว่าสามารถย่อยสลายทางชีวภาพในอุตสาหกรรม (Industrial compostable) ได้จริง ภายใต้สภาวะอุณหภูมิที่ 60 °C โดยจะแปรสภาพเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารชีวมวล ย่อยสลายได้ภายใน 180 วัน โดยไม่ทิ้งสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ในเชิงนิเวศได้อย่างสมบูรณ์

นับเป็นนวัตกรรมพลาสติกอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะตอบโจทย์ผู้ผลิตและผู้ใช้งาน และจะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี นอกจากนี้ หากทุกฝ่ายเข้าใจถึงคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด เลือกใช้ให้เหมาะสม และมีการจัดการที่ถูกวิธี ก็จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการจัดการพลาสติกได้อย่างยั่นยืน พร้อมคืนโลกที่น่าอยู่สู่คนรุ่นหลังต่อไป

สนใจผลิตภัณฑ์หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ greenpolymer@scg.com

Source: https://www.stou.ac.th/Schools/sst/main/KM/KM%20Post/57/BioPlastic.pdf


Is this article useful ?