close

8 ก.ค. 2565

SCGC จัดแสดงนวัตกรรม “SCGC โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร” ตอบโจทย์พลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ IP Fair 2022

Business ESG Circular Economy Innovation

กรุงเทพ – 8 กรกฎาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิธีเปิด งานมหกรรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ IP Fair 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "มันส์ดีเวิร์ส" สร้างแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในหลากมิติ โดยรองนายกรัฐมนตรีฯ และนายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เยี่ยมชมนวัตกรรม SCGC โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร” ทุ่นลอยน้ำและระบบยึดโยงสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รายแรกของไทย โดยมีนายพิสันติ์ เอื้อวิทยา New Business Director และคณะผู้บริหารจากบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ให้การต้อนรับ


สำหรับนวัตกรรม “SCGC โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร” หรือ SCGC Floating Solar Solutions ทุ่นลอยน้ำและระบบยึดโยงสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รายแรกของไทย จากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม และด้านวัสดุศาสตร์ของ SCGC เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมจาก SCGC ที่ได้ยื่นความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปกว่า 40 ฉบับ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย และสำนักสิทธิบัตรในต่างประเทศรวมทั้งประเทศ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยสิทธิบัตรฯ ดังกล่าวได้รับการจดทะเบียน (Granted Patents) แล้วในหลายรายการทั้งในไทยและต่างประเทศ

ปัจจุบัน SCGC สามารถขยายแผนงานด้านธุรกิจโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำแบบครบวงจร (SCGC Floating Solar Solutions) เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานสะอาดที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยจุดเด่นของ SCGC โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำครบวงจร มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี ผลิตจากเม็ดพลาสติกที่มี UV Stabilizer ใช้งานกลางแจ้งได้ดี ติดตั้งง่าย ใช้พื้นที่น้อย ปรับได้หลายรูปแบบ ลดจุดยึดประกอบ (Joint System) ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หนักในการติดตั้ง ใช้พื้นที่น้อยลง 10% เมื่อเทียบการติดตั้งต่อ 1 เมกะวัตต์ ลดการระเหยของน้ำสู่บรรยากาศ เงาของระบบโซลาร์ที่ติดตั้งบนผิวน้ำช่วยลดพื้นที่ระเหยของน้ำ เป็นประโยชน์อย่างมากในพื้นที่แห้งแล้ง


ทั้งนี้ SCGC มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง โดยครอบคลุมการสร้าง (IP Creation) การคุ้มครอง (IP Protection) และการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ (IP Commercialization) รวมถึงมีการวิเคราะห์และวางแผนทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่เริ่มต้นของการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างแท้จริง


Is this article useful ?