close

8 ก.ค. 2557

หาดงามตา...ปลากลับบ้าน

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน เอสซีจี เคมิคอลส์ จึงริเริ่มโครงการ 'หาดงามตาปลากลับบ้าน' ด้วยการประยุกต์ท่อพีอี 100 ที่เหลือจากกระบวนการทดสอบเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน มาสร้างบ้านปลาจำลอง เพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์เล็กไปจนถึงเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอื่นๆใต้ท้องทะเล รวมถึงเพิ่มแหล่งทำประมงพื้นบ้านเพื่อต่อยอดการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยมีพนักงาน เอสซีจีเคมิคอลส์ กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน และหน่วยจิตอาสาในพื้นที่ร่วมกันประกอบและติดตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ณ ต.แกลงกะเฉด อ.เมือง จ.ระยอง

พีอี100…จากท่อส่งน้ำสู่บ้านปลาจำลอง ท่อพีอี หรือ Polyethylene Pipe (PE) ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน เป็นท่อที่ใช้ส่งน้ำดื่ม โดยผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยจากสถาบัน VTT ประเทศฟินแลนด์ และสถาบันอื่นๆ ทั่วโลกว่าไม่มีสารเคมีปนเปื้อนออกมาในน้ำดื่มและน้ำทะเล และมีอายุการใช้งานถึง 100 ปี การนำท่อพีอี 100 ที่เหลือจากการบวนการผลิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำมาประดิษฐ์เป็นบ้านปลานอกจากจะลดการสูญเสียพลังงานในการกำจัดทิ้งแล้วยังไม่ก่อพิษและไม่สร้างภัยใดๆให้กับสิ่งแวดล้อมทางทะเลอีกด้วย บ้านปลาจำลองใช้ท่อพีอีขนาด 110 มม. และ 250 มม. มาเชื่อมต่อเป็นรูปทรงปิรามิดขนาดพื้นที่ประมาณ2 ตารางเมตรจำนวน 100 หลังโดยเลือกวางบ้านปลาในตำแหน่งที่เหมาะสมในทะเลจังหวัดระยองหลังจากนี้จะมีการศึกษาและเก็บข้อมูลสถิติของสิ่งมีชีวิตในทะเลทุกๆ3 เดือนมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมปี 2556 ไม่ใช่แค่บ้านปลาแต่คือบ้านของทุกคน

"วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้มีสามข้อ อย่างแรกคือ

1. คืนความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลเราหวังว่าเมื่อปล่อยบ้านปลาไปแล้วก็จะมีปลาเข้ามาอยู่อาศัยเป็นการเพิ่มจำนวนทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

2. สองเป็นการสร้างอาชีพทำรายได้ให้ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่นี่

3. ตอบโจทย์ของ'เอสซีจีเคมิคอลส์รักษ์สิ่งแวดล้อม' ถ้าเราไม่เอาท่อเหล่านี้มาทำบ้านปลาก็ต้องนำไปรีไซเคิลซึ่งต้องสูญเสียพลังงานในการทำลาย"

'การมีส่วนร่วม' และ'ความยั่งยืน' คือหัวใจหลักในการทำงานด้าน CSR นอกจากรู้สึกภาคภูมิใจที่โครงการนี้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์หลักทั้งสามข้อแล้ว ยังสามารถทำให้ชาวประมงเรือเล็กในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่ม "ชาวประมงที่นี่ต้องประกอบบ้านปลาเองเพื่อเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรม บริษัทไม่ได้ทำบ้านปลาสำเร็จรูปมามอบให้เลย แต่ได้นำพนักงานจิตอาสามาช่วยกันประกอบบ้านปลากับชุมชน ร่วมแก้ปัญหา รวมถึงนำไปปล่อยทะเลเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน" หากท้องทะเลมีสัตว์ทะเลอุดมสมบูรณ์ นั่นย่อมหมายถึงหลักประกันความอยู่ดีมีกิน หากทุกคนตระหนักได้ว่าบ้านของปลาคือบ้านของตัวเองย่อมจะต้องดูแลรักษาไม่ทำลายล้างเพื่อจะได้อาศัย 'บ้าน' หลังนี้ประคองชีพไปอย่างยั่งยืน


Is this article useful ?