ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้มีการกำหนดกลยุทธ์นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Innovation) ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี ประกอบด้วย:
การพัฒนาภายในโรงงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ขณะที่ทำให้เกิดผลดีในทางเศรษฐกิจ โดยวัดจากประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
การพัฒนาโซ่อุปทาน ได้แก่ การพัฒนาคู่ค้า และคู่ธุรกิจ ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก ได้แก่ การร่วมพัฒนาชุมชน โรงเรียน และวัด ให้มีจิตสำนึก และมีการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ชุมชนมีวิสาหกิจที่ยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในอนาคต
ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานต่อไป
ระดับที่ 1
ความมุ่งมั่นสีเขียว คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่ 2
ปฏิบัติการสีเขียว คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่ 3
ระบบสีเขียว คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ระดับที่ 4
วัฒนธรรมสีเขียว คือ การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5
เครือข่ายสีเขียว คือ การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
ด้านการใช้วัตถุดิบ
เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการพี่งพาอาศัยกันระหว่างโรงงาน (Industrial Eco Symbiosis) ทำให้ตั้งแต่ปี 2550 สามารถลดการใช้วัตถุดิบ หรือนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ได้ คิดเป็น 80,000 ตันต่อปี โครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ได้แก่ :
โครงการแลกเปลี่ยนสารไฮโดรคาร์บอนระหว่างโรงงานโอเลฟินส์ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี
โครงการนำก๊าซเหลือทิ้ง (Vent gas) ของบริษัท ไทย โพลิเอททิลีน จำกัด กลับเข้ากระบวนการผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบใหม่
โครงการนำสารไฮโดรคาร์บอนที่ต้องเผาทิ้งของลูกค้า (Off-gas) มาเพิ่มมูลค่าโดยการนำกลับมากลั่นแยกเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบใหม่
โครงการนำ PTA residue กลับมาใช้ใหม่ เพื่อใช้ทดแทนวัตถุดิบบางส่วนในกระบวนการผลิต
โครงการออกแบบแม่พิมพ์ เพื่อลดของเสียจากก้านข้อต่อ
โครงการนำสารเมทิลเมทาครีเลตจากกระบวนการล้างกลับมาใช้ใหม่
ด้านพลังงานและก๊าซเรือนกระจก
เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การนำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ และการพี่งพาอาศัยกันระหว่างโรงงาน (Industrial Eco Symbiosis) ทำให้ตั้งแต่ปี 2550 สามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่า 3,100,000 กิกะจูลต่อปี หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 255,000 ตันต่อปี และนอกจากนี้ยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Solar Roof Project) กำลังการผลิตไฟฟ้า 743 kWh/วัน (1,014,000 kWhต่อปี) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าได้ 590 ตันต่อปี โครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ได้แก่ :
โครงการเคลือบผนังเตาเพื่อลดการสูญเสียความร้อน (emisspro®)
โครงการนำความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาใช้ทำความเย็นในส่วนสำนักงาน (Absorption Chiller)
โครงการนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาผลิตไอน้ำ (ENCOP)
โครงการนำก๊าซชีวภาพที่เกิดจากระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในโรงงาน
โครงการแลกเปลี่ยนพลังงานเหลือทิ้งโดย Flare gas recovery
โครงการติดตั้ง Economizer เพื่อนำความร้อนเหลือทิ้งกลับมาให้ความร้อนน้ำที่ต้องส่งเข้าหม้อไอน้ำ
การจัดการน้ำและน้ำเสีย
นำหลักการ 3 Rs มาประยุกต์ใช้ เช่น การลดการสูญเสียน้ำในการผลิต การนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ และการพี่งพาอาศัยกันระหว่างโรงงาน (Industrial Eco Symbiosis) สามารถลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำภายนอกลงได้มากกว่า 2,700,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ได้แก่ :
โครงการติดตั้งระบบ RO สำหรับรีไซเคิลน้ำหล่อเย็น
โครงการสกัดเกลือรวมเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบโรงงานกระดาษ (Mixed Salt Recovery Project) (อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ)
การจัดการคุณภาพอากาศ
การลดมลพิษที่ระบายสู่บรรยากาศ โดยดำเนินการตั้งแต่การออกแบบ การควบคุมกระบวนการผลิต การตรวจติดตาม และการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ได้แก่ :
โครงการติดตั้ง Aluminum Dome Roof
โครงการติดตั้งระบบ Vapor Recovery Unit
โครงการติดตั้งหัวเผาแบบ Ultra Low NOx
โครงการติดตั้งระบบ De NOx เพื่อลดการเกิด NOx จากการเผาไหม้
การจัดการกากของเสีย
นำหลักการ 3 Rs มาประยุกต์ใช้เพื่อลดปริมาณของเสีย และนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต และการพี่งพาอาศัยกันในระหว่างโรงงาน (Industrial Eco Symbiosis) โครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ได้แก่ :
โครงการศึกษาวิจัยการนำกากตะกอนจุลินทรีย์จากระบบบำบัดน้ำเสียมาทำปุ๋ย
โครงการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic WWT) เพื่อลดปริมาณกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย
โครงการนำของเสียประเภทฉนวนไปรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นอิฐทนไฟ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การจัดการสารเคมีที่อยู่ในโรงงาน โดยพิจารณาความเข้ากันได้ของสารเคมี การป้องกันสารเคมีหกรั่วไหล การเตรียมการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายน้อยลงมาทดแทนสารเคมีเดิม ได้แก่:
โครงการเปลี่ยนสารปรับแต่งสีเม็ดพลาสติก PET จากสารโคบอลต์อะซิเตต ให้เป็น Red/Blue toner
โครงการยกเลิกการใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในระบบบำบัดน้ำเสีย
ด้านโซ่อุปทานสีเขียว
การส่งเสริมให้คู่ค้าหรือคู่ธุรกิจมีการผลิต หรือใช้สินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อการจัดจ้างสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยในปี 2557 ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.05 พันล้านบาท รวมถึงได้มีการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label), ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) และฉลาก SCG eco value
T.U.X™ Film ฟิล์มคุณภาพสูง เพื่อบรรจุภัณฑ์อาหาร
ฟิล์มสำหรับชั้นปิดผนึกคุณภาพสูง (Sealant Layer) ที่พัฒนาสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ด้วยความร่วมมือระหว่างธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี และ Mitsui Chemicals Tohcello บริษัทบรรจุภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีคุณสมบัติบางใส เหนียว ทนทานต่อการเจาะทะลุ มั่นใจได้ว่าสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์มีความสะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติพิเศษของ T.U.X™ ทำให้สามารถลดความหนาของฟิล์มลง ส่งผลให้ลดปริมาณการใช้พลาสติก และช่วยลดต้นทุนในการผลิต
เก้าอี้อีโคพลาสติก
ผลิตจาก Eco Material มีส่วนผสมของวัสดุจากธรรมชาติ 30% และพลาสติกพอลิโพรพิลีน (PP) ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติก อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อม
ถังบรรจุน้ำดื่ม PET ขนาด 5 แกลลอน
ผลิตจากพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) สะอาด ปลอดภัย ปราศจากจากสาร Bisphenol A (BPA Free) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีน้ำหนักเบา โปร่งใสและทนทาน ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA)