close

No Image

การดำเนินการ
เพื่อความยั่งยืน

ความมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล

กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์

           ปี 2564 เป็นอีกปีที่โลกและประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับความรุนแรง ของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง การดําเนินชีวิต และการดําเนินธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนได้เรียนรู้และปรับตัวให้สามารถอยู่กับ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี ได้ปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น (Resilience) รับมือด้วยความ คล่องตัว (Agility) ความรวดเร็ว (Speed) พร้อมคุมเข้มมาตรการ บริหารจัดการความต่อเนื่องในการดําเนินธุรกิจ (Business Continuity Management, BCM) และร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและทุกภาค ส่วนของสังคม อีกทั้งยังมีความท้าทายจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่ยกระดับความสําคัญมากขึ้น


เอสซีจีซีจึงมุ่งมั่น ดําเนินธุรกิจตามปณิธานเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
กําหนดกลยุทธ์ และแนวทางการดําเนินงานเป็นองค์กรต้นแบบด้านบรรษัทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ธนวงษ์ อารีรัชชกุล

โดยให้ความสําคัญกับเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย เศรษฐกิจหมุนเวียน พลังงานและ การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การอนุรักษ์น้ํา ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านการพัฒนานวัตกรรมการสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้าเพื่อ เข้าใจความต้องการ รวมถึงเสนอโซลูชันแบบครบวงจรผ่านทาง 12P Center ออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น SCGC GREEN POLYMERTM พัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ภายใน ปี 2573 และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 โดยเลือกใช้ เทคโนโลยีการผลิต และเครื่องจักรที่ทันสมัยใช้ระบบดิจิทัลควบคุมกระบวนการผลิตให้ใช้ทรัพยากร และพลังงานอย่าง คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในเรื่องการจัดการพลาสติกใช้แล้ว เอสซีจีซีได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนํา เช่น Sirplaste Portugal นําเทคโนโลยี การรวบรวมและบริหารจัดการ พลาสติกใช้แล้ว มาผลิตเป็นพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงและ
ร่วมมือกับพันธมิตร ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีรีไซเคิล Advanced Recycling ที่สามารถเปลี่ยนพลาสติก ใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับ Braskem ศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการนําผลผลิต ทางการเกษตรมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพเพื่อความยั่งยืน

เอสซีจีซีนําระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต มาใช้เพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ ความมั่นคง ให้ปราศจากอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย จากการทํางาน และจัดทําแนวทางการปฏิบัติ และฝึกอบรมบุคลากรเรื่องจรรยาบรรณ การเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ไม่เลือกปฏิบัติ อันเนื่องมาจากความแตกต่าง ทางร่างกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม หรือเรื่องอื่นใดตามกฎหมาย เอสซีจีซีให้ความสําคัญ กับการดูแลชุมชนรอบโรงงานและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างวิถีการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ร่วมแลกเปลี่ยนและแก้ไข ทุกปัญหาอย่างจริงจัง โดยจัดทําโครงการพัฒนาสังคม ในรูปแบบต่าง ๆ

เช่น One Manager One Community (OMOC) ที่ให้ผู้จัดการทุกคน มีบทบาทในการดูแลชุมชนรอบโรงงาน โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ ที่บริหารจัดการขยะ แบบบูรณาการผ่านโมเดลบ้าน วัด โรงเรียน เชื่อมโยงกับธนาคารขยะเพื่อเพิ่มปริมาณ การรีไซเคิล การสร้าง แพลตฟอร์มออนไลน์สนับสนุนวิสาหกิจชุมชนสร้างรายได้จากการ ขายสินค้า รวมถึงส่งเสริมการ ดําเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ราชการ คู่ธุรกิจ หน่วยงานภายนอก และองค์กรต่าง ๆ เอสซีจีซี ดําเนินธุรกิจภายใต้หลักบรรษัทภิบาล มีการกํากับดูแลกิจการ ที่ดี ควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นส่วนหนึ่ง ในการขับเคลื่อนประเทศ สร้างความร่วมมือกับ องค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ และสากล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความพร้อมในการรับมือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก และส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืน ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม